S&P500 คืออะไร? น่าจะเป็นหนึ่งในคำถามต้น ๆ คำถามหนึ่งที่คาใจนักลงทุนที่เพิ่งลองติดตามสถานการณ์ตลาดโลกและการลงทุนในตลาดต่างประเทศ หรือแม้ว่าคุณจะลงทุนเฉพาะในประเทศไทยก็ยังอาจได้ยินได้ฟังกันมาบ้าง ทำให้อาจสงสัยได้ว่าทำไมใคร ๆ ต่างก็พูดถึงสิ่งนี้นัก ดังนั้นคราวนี้เราจึงจะพาทุกคนไปดูกันว่าตกลงแล้ว S&P500 คืออะไรกันแน่ ดัชนี้ตัวนี้พอจะบอกความหมายอะไรกับเราได้ และเราจะมีวิธีลงทุนกับมันได้อย่างไรบ้าง
1. S&P500 คืออะไร
S&P500 คือดัชนีที่คำนวณขึ้นจากหุ้น 500 ตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นนิวยอร์ค (NYSE) เช่น Amazon, American Airlines Group, Bank of America, BlackRock, CME Group, eBay, Expedia Group ฯลฯ โดยนำหุ้นเหล่านั้นมาคำนวณด้วยวิธีเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก และเนื่องจากมูลค่าตามราคาตลาดของดัชนีคิดเป็นกว่า 80% ของตลาดหุ้นสหรัฐ S&P500 จึงมักถูกใช้เป็นดัชนีที่บ่งบอกการเติบโตของหุ้นใหญ่ในตลาดหุ้นอเมริกา
ดัชนี้นี้ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกโดยบริษัท Standard & Poor’s ที่เป็นบริษัทการเงินและการให้อันดับความน่าเชื่อถือตราสารทางการเงินต่าง ๆ ทั่วโลก โดยปัจจุบันจะมีการปรับหุ้นเข้าออกจากตะกร้าถ่วงน้ำหนักของดัชนีเป็นรายไตรมาส และหุ้นที่เข้าเกณฑ์ร่วมคำนวณจะต้องเข้าเงื่อนไข
- เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐและมีมูลค่าตามราคาตลาดมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์
- มีการ IPO เข้ามาแล้วมากกว่า 1 ปี และใน 6 เดือนล่าสุดต้องมีการเทรดอย่างน้อย 2.5 แสนหุ้น
- มีกำไรสุทธิไตรมาสล่าสุดและ 1 ปีย้อนหลังเป็นบวก
2. วิธีคำนวณดัชนี S&P500
วิธีคำนวณดัชนีหุ้น S&P500 เป็นการคำนวณแบบเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ด้วยสูตรการคำนวณ
เมื่อ
Pi = ราคาหุ้น
Qi = จำนวนหุ้นที่ซื้อขายในตลาด
นั่นหมายความว่าการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของหุ้นที่มี Market Cap ใหญ่ จะกระทบกับการเปลี่ยนแปลงของดัชนีได้มากกว่าหุ้นที่มี Market Cap น้อย ในกรณีที่ราคาเปลี่ยนแปลงเป็นขนาดเท่า ๆ กัน เช่น Apple ที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูง เมื่อมีราคาเปลี่ยนไป 1% จะกระทบกับตลาดได้มากกว่าราคาหุ้น 3M ที่มีมูลค่าตามราคาตลาดน้อยกว่าเมื่อมีราคาเปลี่ยนแปลงไปในขนาดที่เท่ากัน (1%)
3. ดัชนี S&P500 ต่างกับ Dow Jones และ Nasdaq อย่างไร?
ตลาดหุ้นสหรัฐ ประกอบด้วย 2 ตลาดหลักคือ 1) ตลาด New York Stock Exchange (NYSE) เป็นแหล่งรวมบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ เป็นที่มาของดัชนีหุ้น 2 ตัวคือ Dow Jones และ S&P500 และ 2) ตลาด Nasdaq ที่เดิมมีไว้สำหรับจดทะเบียนหุ้นขนาดเล็กซึ่งสมัยก่อตั้งมักเป็นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ปัจจุบันจึงกลายมาเป็นตลาดหุ้นขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งตามการเติบโตของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และนำมาคำนวณดัชนี Nasdaq
S&P 500 vs. DJIA30
จากโครงสร้างการคำนวณดัชนีทั้งสองตัวที่แตกต่างกัน ที่ดัชนี Dow Jones มีการคำนวณแบบถ่วงราคาจากหุ้นบรรษัทยักษ์ใหญ่ระหว่างประเทศ 30 ตัวในตลาด NYSE จึงมักใช้บ่งชี้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกได้ในภาพรวม ขณะที่ดัชนี S&P500 ที่มีการคำนวณแบบเฉลี่ยน้ำหนักด้วยหุ้น 500 ตัวในตลาดหุ้น NYSE จะสามารถบ่งชี้ผลประกอบการและการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐในภาพรวมได้ดีกว่า และดัชนี S&P500 ก็มักถูกใช้ประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนรายใหญ่และกลุ่มสถาบันต่าง ๆ มากกว่า DJIA
S&P 500 vs. Nasdaq
ทั้งดัชนี S&P500 และ Nasdaq ต่างก็เป็นดัชนีที่ใช้วิธีคำนวณแบบถ่วงน้ำหนักเหมือนกัน แต่ทั้งสองยังมีความแตกต่างกันตรงที่ชนิดของหุ้นที่นำมาร่วมคำนวณดัชนี นั่นคือดัชนี S&P500 ใช้หุ้นจากตลาดหุ้น NYSE ร่วมคำนวณ จึงเป็นผลรวมจากหุ้นทั้งกลุ่มการเงิน อุปโภคบริโภค สาธารณะสุข เทคโนโลยี ขนส่ง พลังงาน ขณะที่ดัชนี Nasdaq นั้นคำนวณจากหุ้น 100 ในตลาด Nasdaq เน้นหนักไปที่การบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ดัชนีทั้งสองตัวจึงถูกนำมาใช้บ่งชี้การเติบโตของภาพรวมอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน
4. ทางเลือกการลงทุนในดัชนี S&P500
สำหรับการลงทุนในปี 2022 นี้เรามีวิธีสำหรับการลงทุนในดัชนี S&P500 ให้นักลงทุนได้เลือกหลากหลายทาง โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและข้อจำกัดของนักลงทุนแต่ละคน เช่น
ETF
หากคุณมีบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศ การซื้อ ETF จะเป็นวิธีที่ตรงไปตรงมาที่สุด นั่นคือนักลงุทนสามารถโอนเงินเข้าไปซื้อขายกองทุนอ้างอิงดัชนี S&P500 ในตลาดหุ้นสหรัฐได้โดยตรง คล้ายกับการซื้อหุ้นในตลาดหุ้นไทยและทำกำไรได้จากการซื้อถูกขายแพง เพียงแต่วิธีนี้มีต้นทุนค่าธรรมเนียมสูง การลงทุนด้วยเงินทุนเล็กน้อยอาจไม่คุ้มต้นทุนค่าธรรมเนียมซื้อขาย และมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม
กองทุน
อกจากการลงทุนโดยตรงผ่าน ETF เรายังสามารถนำเงินไปให้บริษัทจัดการหลักทรัพย์หรือกองทุนในประเทศนำเงินของเราไปลงทุนในสินทรัยพ์อ้างอิงดัชนี S&P500 ต่อก็ได้ ซึ่งวิธีนี้มีจุดเด่นที่การเปิดบัญชีไม่ยุ่งยาก ทำได้กับทุกบลจ. และเรียกร้องเงินลงทุนขั้นต้นไม่มาก เพียงแต่การซื้อขายจำกัดแค่วันละครั้งตอนสิ้นวัน และผู้ซื้อจะยังไม่รู้ราคาแน่ชัดจนกว่ากองทุนจะคำนวณ NAV. ในแต่ละวันออกมา จึงเหมาะกับนักลงทุนที่ไม่อ่อนไหวกับราคานักและเน้นลงทุนระยะยาวเป็นหลัก
DW
สำหรับนักลงทุนที่มีบัญชีซื้อขายหุ้นอยู่แล้ว อีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้คือการซื้อขาย DW วิธีนี้มีข้อแตกต่างจากสองวิธีแรกเล็กน้อย นั่นคือนักลงทุนจะไม่ได้เข้าซื้อดัชนีโดยตรง แต่เป็นการเข้าซื้อตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของดัชนี S&P500 ซึ่งจะมีจุดเด่นในแง่ที่นอกจากจะสามารถซื้อขายได้ง่ายแล้ว ยังสามารถเทรดได้แบบเรียลไทม์ด้วยอัตราทด คาดหวังกำไรได้จากทั้งราคาขาขึ้นและขาลง ทำให้สามารถใช้เงินลงทุนจำนวนไม่มากและคาดหวังผลกำไรจำนวนมากได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในแง่ที่การซื้อขายจะจำกัดแค่ช่วงเวลาเปิดตลาดไทยที่ 10.00 -16.30 น. เท่านั้น และมีค่า Time Decay ที่ทำให้ไม่เหมาะกับการถือยาว
CFD
หรือ Contract for Difference เป็นตราสารอนุพันธ์อีกรูปแบบหนึ่งที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้าทำกำไรจากส่วนต่างของราคาสินทรัพย์อ้างอิง จึงสามารถคาดหวังผลกำไรได้จากทั้งขาขึ้นและขาลง ทั้งยังให้ประโยชน์จากอัตราทดช่วยขยายความสามารถในการทำกำไร มีต้นทุนในการซื้อขายต่ำ เปิดเทรดตลอด 24/5 ทำให้เป็นเครื่องมือที่ให้ความคล่องตัวสำหรับนักลงทุนที่เน้นการเก็งกำไรระยะสั้น ให้มีโอกาสทำกำไรได้สูง แต่ก็เป็นตราสารที่มีความเสี่ยงสูงการใช้อัตราทดจึงควรทำด้วยความระมัดระวัง โดยการซื้อขาย CFD ต้องมีบัญชีแยกต่างหากซึ่งสามารถเปิดได้ง่ายจากเว็บไซต์โบรกเกอร์ผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ
และเหล่านี้คือเรื่องราวเกี่ยวกับดัชนีหุ้น S&P500 ที่เรานำมาฝากกันในคราวนี้ ซึ่งใครที่กำลังสงสัยว่าดัชนี S&P500 คืออะไร นำไปใช้ได้อย่างไร และแตกต่างจากดัชนีดาวโจนส์ หรือ ดัชนีแนสแดกอย่างไร ก็คงได้คำตอบกันไปบ้างแล้ว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยทำให้เราเข้าใจตลาดและมองการเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นอเมริกาที่เชื่อมโยงถึงตลาดโลก รวมถึงตลาดหุ้นไทย และมองหาโอกาสในการทำกำไรได้ในท้ายที่สุด