Polkadot(DOT) คืออะไร? ชื่อจุดปะๆบนสมุดนี้ทำไมเขาถึงได้เอามาเป็นชื่อแบรนด์เหรียญนี้? ทำไม Interoperability ถึงสำคัญและจะเป็นโปรเจ็คที่เป็นยุคใหม่ของ Crypto? วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังครับ
ใครเป็นผู้สร้าง Polkadot
ย้อนกลับไปในช่วง Blockchain ยุค 2 (ยุคแรกคือ Bitcoin ยุคสองคือ Smartcontract (ETH)) Gavin Wood คือหนึ่งในโปรแกรมเมอร์ฝีมือฉมังอันดับ 1 หาตัวจับยากแห่งยุค เขาคือ ผู้เป็นประธานฝ่ายเทคโนโลยี หรือ CTO คนแรกของ Etheruem Foundation (หรือ Etheruem ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน) เขาได้พบปะกับอัจฉริยะ Vatalik ที่งาน Bitcoin Amsterdam ในปี 2013, โดย Gavin Wood สนใจในคริปโตเป็นอย่างมากและเชื่อว่า ETH จะกลายเป็น ‘One computer for the entire planet’ และในขณะนั้น Vitalik เองก็ไม่ได้ชำนาญโค้ดเท่าไหร่ เขากำลังหาผู้ที่มาเป็น Head of Technology แก่ Etheruem อยู่
ด้วยการคุยกันอย่างถูกคอ และ Gavin Wood นั้นมีศักดิ์เป็น Research Scientist ที่ Microsoft มาก่อน ถือได้ว่าเขานี้แหละตัวพ่อของจริง เขาได้เข้าร่วมมาทำ ETH อย่างเป็นทางการในปี 2014 เขาเป็นผู้เขียน ‘Yellow Paper’ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น ‘ต้นแบบของทุกอย่างบน ETH ในฝั่งของเทคโนโลยี’ และทำให้ ETH มี Smart contract ใช้กันอยู่จนถึงทุกวันนี้
เขาเห็นข้อผิดพลาดหลายอย่างของ ETH ที่เป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้ คือเรื่องของ Scalability ที่เกิดปัญหาว่าคนที่มาใช้ ETH นั้นยิ่งเยอะ ราคาจะยิ่งแพง และเชนของ ETH ไม่สามารถเชื่อมกับ Chain อื่นๆได้ เนื่องจากในโลกแห่งความจริง ใครๆก็อยากสร้าง Chain ของตัวเองกันทั้งนั้น สร้าง App ตัวเอง Ego ของ Founder มันจะผลักดันให้เกิดเทคนิคที่แตกต่างใหม่ๆกันออกมา หากแต่ละ Chain หรือ Dapp ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ ‘โลกคริปโตก็จะประสบกับปัญหาที่ต้องสร้าง Chain มาแย่งกันไม่รู้จบ คนที่จะสร้าง App ก็ต้องมานั่งงมว่า Chain ไหนจะมีแนวโน้มคนใช้เยอะขึ้นในอนาคต แต่ยิ่งคนใช้เยอะขึ้นราคาก็ยิ่งแพงขึ้น ทำให้คนเปลี่ยนไปใช้เชนที่ถูกกว่าอยู่ดี’ การจะแก้ปัญหานี้นั้นจำเป็นที่จะต้องสร้าง ‘Layer0’ ขึ้นมา เพื่อให้ทุก Chain สามารถใช้งานร่วมกันได้ ทุก Dapp สามารถใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ Polkadot จะมาแก้ไขมัน
จนภายในปี 2016 เขาได้ลาออกจาก ETH foundation และระดมทุนโปรเจ็คใหม่ของเขาขึ้นมาภายใต้ชื่อว่า ‘Polkadot’ โดยระดมทุนผ่าน Blockchain หรือ ICO ได้ไปกว่า $140 ล้านดอลล่าร์ โดยขาย DOT ไปกว่า 50% ของ Supply ทั้งหมด (10 ล้าน DOT) ซึ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของโปรเจ็คอันยิ่งใหญ่นี้
Polkadot คืออะไร?
Polkadot คือ Multiple Connecting Blockchain Protocol หรือชื่อเล่นคือ ‘Layer 0’ คอนเซ็ปคือ มันเป็น Blockchain ที่เป็นพื้นฐานในการเชื่อมทุกๆ Chain เข้าด้วยกัน โดย Layer 0 นั้นจะเป็นเหมือนโครงสร้างพื้นฐานที่มี Security ที่สูงทำให้ผู้ที่มาสร้าง Blockchain บน Polkadot สามารถไปสนใจ Freature ของตัวเองได้โดยวางใจเรื่องการไม่ถูก Hack ได้ง่ายๆได้เลย
โดยการที่จะมาสร้าง Blockchain บน Polkadot นั้นจะมีข้อดีอยู่ 5 อย่างด้วยกัน คือ
1.Scalability
ด้วยการที่ใช้เทคโนโลยีแบบ Sharding ตั้งแต่แรก Sharding เปรียบเสมือน Bittorent ที่ทุกๆ Node (ผู้ปล่อย File ให้อัพโหลด) จะยินยอมปล่อยไฟล์ตัวเองให้ไปโหลด แต่ยิ่งมีคนมาปล่อยเยอะมากขึ้นเท่าไหร่ ไฟล์นั้นมันก็จะยิ่งปล่อยเร็วขึ้นเท่านั้น เป็นเพราะว่าแต่ละ Node นั้นเลือกที่จะส่ง ‘ทีละชิ้น’ นั้นทำให้ทุก Node นั้นทำงานร่วมกันได้และไม่จำเป็นที่จะต้องให้แต่ละ Node มีข้อมูลทั้งหมดเหมือน PoW ซึ่งจะทำให้ Blockchain นั้นมี Transaction / Second ได้เยอะมาก หาก Polkadot รวมทุก Validator Node และใช้ระบบ Shard ด้วย จะมี TPS ได้สูงสุดถึง 166,666+ เลยทีเดียว
2.Specialize
ด้วยความที่ Polkadot เน้นในการเป็น Internet of Blockchain ซึ่งสนับสนุนการสร้าง Web3 แล้ว ทุกๆคนที่อยากมาสร้าง Blockchain สามารถไว้วางใจ Polkadot เรื่อง Security และ Speed/Cost ได้เลย พวกเขาสามารถที่จะเน้นไปที่ Feature หลักของตัวเองได้แทนที่จะต้องมานั่งสนใจว่าทำยังไงให้ Chain ปลอดภัย จะหา Miner ได้ยังไงดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนทำยากและมีโอกาสผิดพลาดได้สูง การปล่อยเรื่องเหล่านี้ให้ Polkadot จัดการทำให้เกิดแอฟใหม่ๆบน Blockchain เยอะมากขึ้นมาก
3.Interoperability
ผู้สร้าง Blockchain แต่ละคนไม่ต้องกังวลว่าเราควรจะเอา Dapp เราไปอยู่บน Chain ไหนดี? เนื่องจากทุก Dapp และ Blockchain บน Polkadot สามารถใช้งานร่วมกันได้ ปลอดภัย และยังสามารถ Bridge (เชื่อมกับเชนอื่น) ที่ดังๆอย่าง ETH ได้อีกด้วย! ซึ่งแก้ปัญหาที่จะต้องมาห่วงอนาคตของเชนได้อีกเป็นโข เช่น เชนที่สนับสนุนเกม อาจจะมาใช้บริการทางการเงินจากเชนที่เน้นเรื่องความปลอดภัยได้แบบสบายๆ และถูกอีกด้วย
4.Sovereign Governance
ผู้ถือ DOT คือผู้เป็นเจ้าของ Polkadot ที่แท้จริง เขาสามารถนำมันไป Stake ในโปรเจ็คใดก็ได้เพื่อได้เป็นการโหวตให้โปรเจ็คนั้นๆได้อยู่บนเชน (Crowdloan) ซึ่งหากคุณเป็นคนที่จะสร้างโปรเจ็คเอง คุณสามารถที่จะบริหาร Tokenomic ของคุณเองบน Platform นี้ได้เลยหากคุณได้อยู่บน Parachain ของ Polkadot
5.Upgradability
ด้วยความที่เขาเข้าใจเทคโนโลยีว่ามันเป็นพื้นที่แห่งการพัฒนาไม่รู้จักจบสิ้น การที่ Smart contract ต่างๆไม่สามารถอัพเกรดได้อาจจะประสบกับปัญหาที่ไม่ได้คาดคิดในอนาคต ซึ่งทำให้ Blockchain นั้นๆจำเป็นที่จะต้อง Hardfolk ตัวเอง (ก็อปของเก่าทั้งหมดและลบทิ้งสร้างใหม่) ซึ่งการทำเช่นนั้นจะสร้างปัญหาและมีค่าใช้จ่ายอย่างมาก ด้วย Validator ที่ไว้ใจได้ พวกเขาสามารถ Upgrade code ของตัวเองได้เลยโดยไม่ต้องขอการโหวตจากชุมชนแบบ Manual ทำให้ Blockchain นั้นๆเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสะดวกกว่าในการ Upgrade นั้นเอง
Polkadot ทำงานอย่างไร
1.Polkadot ใช้ระบบ Proof-of-stake ซึ่งอนุญาติให้คนนำ DOT ไป Stake เพื่อเป็น Node ตรวจสอบ Relay Chain ผู้ที่เอาเหรียญไป Stake จะได้รางวัลเป็น DOT กลับมา Polkadot Blockchain ที่ประกอบไปด้วยหลายส่วนภายในตัวมัน โดยเริ่มจาก
2.Relay Chain – เป็นเชนแม่ที่ใหญ่ที่สุด เปรียบสายธารหลักที่จะมี Validator ของ DOT อยู่เพื่อทำหน้าที่ในตรวจสอบและเชื่อมต่อกับ Parachain อื่นๆที่จะมาเชื่อมกับ Polkadot หลัก
3.Parachains – เป็นเมืองใหญ่ที่จะอยู่รอบๆแม่น้ำเพื่อเชื่อมต่อกับ Parachain อื่นๆของ Polkadot ได้ มี Validator จาก Ralay Chain คอยตรวจสอบ ซึ่งจะเหมือนกับ Blockchain Layer 1 อื่นได้เลยที่สร้าง Ecosystem เป็นของตัวเอง สร้างเหรียญตัวเอง แต่แค่เชื่อมกับ Polkadot ที่เป็น Layer 0
4.Bridges – นอกจากที่จะสร้าง Ecosystem ของตัวเองได้แล้ว Polkadot ยังสามารถที่จะเชื่อมกับ Chain ต่างๆที่ไม่ได้สร้างบน Polkadot ตั้งแต่แรก โดยการ Bridge ข้าม Chain ได้ ซึ่งแต่ละ Parachain สามารถ Bridge ได้แบบง่ายๆ
5.Validator – เป็น Node ที่ถูกสร้างขึ้นจากการ Stake DOT, Validator เหล่านี้ทำหน้าที่ในการตรวจสอบธุรกรรมของ Collator
Nominator – เจ้าของ Relay chain บรรดาผู้คนที่ถือ DOT ไป Stake บน Validator
6.Collator – คือ Shard ที่จะแบ่งข้อมูลธุรกรรมของ Parachain ให้เป็นย่อยๆ แล้วรอตรวจสอบโดย Validator
7.Fisherman – ผู้ตรวจสอบ Validator และ Collator ว่ามีการโกงเกิดขึ้นหรือไม่
เหรียญ DOT เอาไปใช้ทำอะไร?
1.Governance – ผู้ที่ถือ Polkadot คือเจ้าของ Platform ตัวจริง เขาสามารถนำไป Stake เป็น Validator Node ได้บน Relay Chain ซึ่งคุณจะสามารถโหวตการอัพเกรดหรือเปลี่ยนแปลงของ Protocol ได้
2.Staking – นอกจากการโหวตแล้วการนำไป Staking เป็น Validator นั้นคุณจะได้ Reward เป็น DOT แถมมา
3.Bonding – มันคือการโหวตว่าโปรเจ็คไหนจะได้เข้าร่วม Parachain หากมีการเปิด Slot เพิ่ม (ซึ่ง Parachain มีจำกัดอยู่ที่ 100 Slot, reset ใหม่ทุกๆ 2 ปี) คุณสามารถนำ DOT ไป Stake รอ 2 ปีได้เพื่อรอให้โปรเจ็คนั้นได้เข้ามาอยู่ใน Polkadot จริงๆ
เปรียบเทียบ Polkadot / Bitcoin / Ethereum / Cardano
Polkadot | Bitcoin | Ethereum | Cardano | |
Current price | $16.09 | $38,589 | $2,830 | $0.81 |
Market Cap | $15,883,228,368 | $733,972,203,591 | $341,283,288,644 | $27,235,964,697 |
Fully Diluted Market Cap | $17,752,606,252 | $810,101,491,229 | – | $36,326,428,629 |
Total Supply | – | 21,000,000 | – | 34,277,702,082 |
Volume (24 hr) | $542,257,932 | $26,931,850,261 | $15,897,775,300 | $752,613,506 |
Founder | Gavin Wood | Satoshi Nakamoto | Vitalik Buterin | Charles Hoskinson |
Ranking | 14 | 1 | 2 | 9 |
Supply | – | 91% | – | 75% |
Monetary Policy | Inflationary | Deflationary | Inflationary, Burn turn 60% APY | Inflationary |
Consensus Mechanism | Proof-of-Stake, Sharding | Proof-of-Work | Proof-of-Work (PoS ใน ETH2.0) | Proof-of-Stake |
Transaction/ Second | 1,000 – 1,000,000 | 4.6 | 30 | 250 |
Inflation rate | 10% | 1.76% | 8-2% | 5.70% |
(ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2022)
Polkadot Prediction – อนาคตเหรียญ Polkadot(DOT) 2022
ต้นปีมา 2022, DOT นั้นมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 28$ หลังจากนั้น 1 เดือน DOT ก็ได้ราคาตกลงมาเรื่อยๆอยู่ที่ $19 ซึ่งเป็นราคาที่ตกมาจาก ATH เมื่อเดือน November 2021 ที่ $55 ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ราคา 18$ และมีขึ้นลงเป็นบางครั้ง เป้าแรกที่คาดไว้คือ หากมันขึ้นถึงแนวต้านที่ $23 มีแนวโน้มว่าจะเป็นขาขึ้นต่อ
สำหรับแผนขาแนวรับคือ อาจจะมาทดสอบที่ราคา $14 และหากลงอีก อาจจะไปทดสอบที่ราคา $10 ซึ่งอาจจะเป็นราคาที่ต่ำที่สุดที่จะเป็นไปได้
ในปี 2022 – หากตลาดกระทิงยังคงอยู่ DOT อาจจะมีแนวโน้มที่ขึ้นไปแตะ $28 หรือ $38 ภายในสิ้นปี เนื่องจาก Ecosystem ที่ขยายมากขึ้น มี Usecase มากยิ่งขึ้น
ในปี 2023 – โดยเฉลี่ยแล้วตลาดคริปโตจะขึ้น 1 ปี ลง 4 ปีเป็น Cycle เช่นนี้ตาม Bitcoin Halfing ซึ่งหากตามทฤษฎีนี้ ราคาของ DOT ก็น่าจะตกลง ราคาอาจจะยืนได้อยู่ที่ $26-37
บทส่งท้าย
Polkadot นั้นเป็นโปรเจ็คยักษ์ใหญ่หรือเป็นโปรเจ็ค Blockchain ที่หากทำสำเร็จ มันอาจจะคลีคลายปัญหา Impossible Trianglar Dilemma ของ Blockchain เจ้าแรกก็เป็นได้ แต่ด้วยความสมบูรณ์แบบของมันนั้นทำให้การเข้าถึง Parachain Slot แต่ละครั้งนั้นเป็นไปได้ยากเมื่อเทียบกับ ‘Cosmos’ บล็อคเชน Layer0 คู่แข่งอีกตัวหนึ่ง ซึ่งทาง Polkadot นั้นมี Blockchain ลูกอีกตัวชื่อ ‘Kusama’ ซึ่งจะเป็น Blockchain ที่เปิดโอกาสให้ Developer มาทดลองโปรเจ็คกันบนนี้ก่อนแล้วหากมีฐานแฟนที่แน่นหนา จึงไปร่วมประมูล Parachan slot ต่อไป
การที่จะวิเคราะห์ว่า Polkadot อนาคตจะรุ่งได้หรือไม่นั้น จะต้องวิเคราะห์ Ecosystem (Layer2) ที่มาสร้างอยู่บน Polkadot ว่ามีมากหรือมีตัวที่เด่นมากเท่าใด เพราะหากมีตัวที่สามารถใช้จริงได้ ก็มีโอกาสที่เชนนี้จะมีคนมาร่วมสร้างต่อยอดจากมันอีกทีหนึ่ง และนักลงทุนก็จะมาสนใจลงทุนในโปรเจ็คนั้นๆ หรือ Polkadot ก็จะได้อานิสงค์ไปด้วย
โดยโปรเจ็คที่น่าสนใจบน Polkadot นั้นมีอยู่หลายตัวที่สามารถเข้าไป Staking Bond ทำ Crowdloan ได้นั้นคือ Acala (DeFi), Moonbeam (Bridge), Astar (Web3.0 Infrastructure), Parallel Finance (DeFi), Centrifuge (Real World DeFi), Darwinia network (Cross-chain bridge Web3.0), Litentry (Identity), Efinity (Lighting Network)
อ้างอิง
https://polkadot.network/blog/what-is-polkadot-a-brief-introduction/
https://polkadot.network/Polkadot-lightpaper.pdf
https://www.cryptonewsz.com/forecast/polkadot-price-prediction/
https://coinmarketcap.com/currencies/polkadot-new/
https://support.polkadot.network/support/solutions/articles/65000168057-how-do-i-stake-nominate-on-polkadot-