Ethereum (ETH) คืออะไร? ลงทุนตอนนี้จะสายเกินไปไหม?

ในปีที่ผ่านมา Ethereum ได้กลายเป็นตัวเลือกสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมในการลงทุนมากที่สุดแทน Bitcoin ด้วยลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่นที่ต่างจาก Bitcoin และสกุลเงินคู่แข่งอย่าง Litecoin ทำให้ Ethereum ได้รับการยอมรับจากบริษัทและสตาร์ทอัพหลายแห่งในการทำธุรกรรม จึงไม่แปลกที่คุณจะพบมูลค่าของ Ethereum ในตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

จากบริบทการเติบโตแบบก้าวกระโดดของ Ethereum นักลงทุนหลายคนอาจเกิดความสงสัยว่าสกุลเงินดิจิทัลตัวนี้คืออะไร? แตกต่างจาก Bitcoin อย่างไร? และหากต้องการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนจะทำได้หรือไม่?อย่างไร? มาหาคำตอบได้จากด้านล่างนี้

Ethereum (ETH) คืออะไร?

หลายคนคงคุ้นเคยกับชื่อของ Ethereum กันดี เหรียญสาย Smart Contract ที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลกคริปโต เป็นเหรียญที่ถูกจัดอยู่ในรูปแบบของ Smart Contract เป็นการทำงานแบบ Open Source เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่กระจายอำนาจ คือ ไม่มีตัวกลาง และเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถพัฒนา หรือสร้าง DApp บนเครือข่ายบล็อกเชนของ Ethereum ได้ ทุกวันนี้ได้มีการอัพเกรดระบบเป็น Ethereum 2.0 เพื่อรองรับการทำธุรกรรมที่มากขึ้นในอนาคต Ethereum มี Market Cap อยู่ที่ 220 ล้านล้านดอลลาห์ และเป็นเหรียญที่ไม่มีจำนวนจำกัด

Ether คืออะไร?

Ether เป็นสกุลเงินกลางของ Ethereum มีหน้าที่แลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้ครอบครอง โดย จะรู้กันว่า Ether คือ “น้ำมัน” ที่ถูกจ่ายออกไปเป็น Gas Fee เพื่อแสดงถึงการรับผิดชอบในเรื่องของค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการทำธุรกรรมต่างๆ ตั้งแต่เรื่องของการเงิน อสังหาริมทรัพย์ การประมูล และอื่นๆ อีกมากมาย

ใครเป็นคนสร้าง Ethereum?

คนสร้าง Ethereum-Vitalik Burterin
Vitalik Burterin

Ethereum ถูกสร้างโดยชาวรัสเซียชื่อว่า Vitalik Burterin ในปี 2015 โดยที่เขาเชื่อว่า Bitcoin สามารถถูกพัฒนาไปได้ไกลกว่านี้ มากกว่าแค่จะนำมาใช้แทนสกุลเงิน แต่ในตอนนั้นกลับไม่มีใครสนับสนุนแนวคิดของเขาเลย หลังจากนั้นเขาจึงตัดสินใจที่จะทำโปรเจกต์ Ethereum ขึ้นมา เพื่อปรับปรุงข้อบกพร่องต่างๆ ที่ Bitcoin มี และเพิ่มความสามารถในการสร้างเหรียญอื่นๆ ขึ้นมาได้ผ่านระบบบล็อกเชนของ Ethereum และอย่างที่เราเห็น Ethereum ได้ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ด้วยการแสดงให้เห็นได้จากการที่ครองเป็นอันดับ 2  ในตลาดคริปโตได้มาอย่างยาวนาน

ลักษณะการทํางานของสกุลเงิน Ethereum คืออย่างไร?

สรุปให้ชัดเจนกันอีกครั้งว่า Ethereum สร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการอำนวยความสะดวกในการประมวลผลซอฟต์แวร์ โดยใช้ระบบโทเค็น (Token) ที่เรียกว่า Ether แต่ Bitcoin สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงินโดยขจัดการเพิ่งพาตัวกลาง

อย่างไรก็ตาม ความเซ็กซี่ของ Ethereum ยังถูกสะท้อนจากความสนใจของบริษัททางการเงินรายใหญ่บางแห่งที่ตบเท้าข้ามามีส่วนร่วมในพื้นที่นี้ โดยปัจจุบัน Ethereum มีราคาซื้อขายอยู่ที่ประมาณ $1,725 ซึ่งต่ำกว่าราคาของ Bitcoin อยู่มากที่ประมาณ $30,299

ข้อดีของ Ethereum

ข้อดีของ Ethereum ที่เห็นได้ชัดเราจะแบ่งออกเป็น 3 ข้อใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

1.  การพัฒนาแบบ Open Source นำไปสู่ DApp

การที่เป็น Open Source นั้น เป็นการเปิดโอกาสให้นักพัฒนาบล็อกเชนสามารถเข้ามาใช้ข้อมูลต่างๆ ได้ อีกทั้งยังมี Smart Contract เจ้าแรกๆ ในตลาดคริปโต ทำให้สามารถนำมาพัฒนาเป็น Decentralized Autonomous Organization(DAO), Decentralized Application(Dapps) และอื่นๆ ซึ่งการออกแอปพลิเคชั่นเหล่านี้ บางโปรเจกต์ก็ต้องปล่อยเหรียญดิจิทัลออกมาเพื่อรองรับแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้น ซึ่งเหรียญเหล่านั้นก็ถูกสร้างขึ้นบนบล็อกเชนของ Ethereum ด้วย จะเห็นได้ว่าเราจำเป็นต้องใช้เหรียญ Ethereum ในการจ่ายค่าแก๊สต่างๆ ในการทำธุรกรรมไปด้วย ทำให้ทุกคนจำเป็นต้องถือเหรียญ Ethereum ไว้ตลอด

2.  Smart Contract กับธุรกิจชั้นนำ

Smart Contract ถูกนำไปประยุกต์ใช้เป็นสัญญาต่างๆในการทำธุรกิจ เพื่อความโปร่งใส และปลอดภัยมากขึ้น เช่น บริษัท DHL บริษัท Logistic ชั้นนำของโลกใช้ Smart Contract เพื่อติดตามการส่งของให้กับลูกค้า เพื่อที่จะสามารถตรวจอบได้ว่าตอนนี้ของไปถึงลูกค้าอย่างปลอดภัยไหม หรือตัวลูกค้าเองก็สามารถตรวจสอบได้เช่นกัน โดยระบบนี้สามารถตรวจสอบได้ละเอียดขึ้นในการใช้ Smart Contract เป็นต้น นอกจจากนี้ยังมีหลายธุรกิจที่สนใจจะนำมาใช้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่เกี่ยวกับการเงิน การใช้ Smart Contract ถือเป็นเรื่องที่ลดขั้นตอนหลายอย่างไปได้เยอะ และที่สำคัญคือโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้

3.  ระบบการทำงานแบบใหม่กับ Ethereum 2.0

หลังจากใช้ระบบ Proof of  Work มาอย่างยาวนานในที่สุด Ethereum 2.0 ก็ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบ Proof of Stake แล้ว ซึ่งการเปลี่ยนครั้งนี้เป็นครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของ Ethereum จุดประสงค์เพื่อให้รองรับการทำธุรกรรมในปริมาณมากได้ และรวดเร็วกว่าเดิม

ข้อเสียของ Ethereum

ข้อเสียหลักที่เห็นได้ชัดคือ ค่า Gas ของ Ethereum นั้นแพงมากหากเทียบกับเหรียญคริปโตที่เป็นสาย Smart Contract เหรียญอื่นๆ ทำให้บางคนอาจจะเริ่มไปใช้บล็อกเชนตัวอื่นๆ แทน และเนื่องจากผู้ใช้งานที่เยอะ ทั้งในการออกเหรียญ หรือการสร้าง DApp บนระบบบล็อกเชนของ Ethereum ทำให้มีจำนวนการทำธุรกรรมที่เยอะมาก ดังนั้นการทำธุรกรรมบางทีใช้เวลาล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็นไปมาก หากเปรียบเทียบกับเหรียญคริปโตในประเภทเดียวกัน

Ethereum ใช้มาทำอะไรได้บ้าง-Use cases

จากที่เราเห็นที่ผ่านมามีหลายโปรเจกต์ที่ผลิตอยู่บน Ethereum Chain ยกตัวอย่างเช่น Uniswap แพลตฟอร์ม DeFi ชื่อดัง ที่สร้างบนเครือข่ายของ Ethereum มีไว้เพื่อใช้แลกเปลี่ยนเหรียญประเภท ERC-20 และ OpenSea แพลตฟอร์ม NFT Marketplace ที่มีคนใช้ซื้อขายผลงาน NFT เป็นอันดับต้นๆ ในโลกคริปโต ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาบนระบบบล็อกเชนของ Ethereum ซึ่งการใช้งานบนแพลตฟอร์มนี้จะต้องจ่ายค่า GAS เป็น Ethereum เป็นต้น ทั้งสองอย่างนี้เป็นเพียงแค่ Use Cases ที่เราลองยกมาเพื่อให้คุณได้เห็นภาพมากขึ้น ว่าจริงๆ แล้ว Ethereum เปิดให้นักพัฒนาคนอื่นๆ เข้ามาพัฒนาบนระบบบล็อกเชนและสามารถใช้งานได้จริง

Ethereum network 

เครือข่ายของ Ethereum Network ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ

1. Public Network เป็นเครือข่ายแบบ Open Source หรือการเปิดข้อมูลแบบสาธารณะให้ผู้คนภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้

1.1 Mainnet จะเป็นเครือข่ายที่เข้าถึงระบบบล็อกเชนหลักของ Ethereum ที่ใช้ในการทำธุรกรรมในการทำบัญชีนั้นๆ เราอาจจะพบเห็นใน Metamask ที่เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัล

1.2 Testnet เป็นระบบเครือข่ายทดสอบจากเครือข่ายหลักของ Ethereum เพื่อมีไว้ใช้ในการทดสอบการพัฒนาระบบ หรือพัฒนาธุรกรรมเท่านั้น

2. Private Network เป็นเครื่อข่ายแบบปิด คือ คนภายนอกจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้

Ethereum classic 

Ethereum Classic เป็นหนึ่งในโครงการที่ถูกแยกออกมาจาก Ethereum ปกติที่เราใช้งานกัน โดย Ethereum Classic คือ สัญญาอัจฉริยะที่ซับซ้อน หรืออาจจะคุ้นชินในชื่อของ Decentralized Autonomous Organization (DAO) เป็นระบบการระดมทุนผ่านสกุลเงินดิจิทัลที่เพื่อนำไปสร้าง DApp หากใครที่ต้องการสนับสนุน หรือสนใจโปรเจกต์ในการสร้าง DApp คุณจำเป็นจะต้องซื้อ DAO Token ซึ่งการซื้อนี้ส่งผลให้เราได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา หรือตัดสินใจร่วมกับโปรเจกต์นั้นๆได้ เช่น หาก DApp จะมีการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบจะต้องมีการลงคะแนนเสียง เราจะได้เป็นหนึ่งในนั้นเป็นผู้ออกเสียงโหวตให้กับระบบนิเวศด้วย แต่การซื้อผ่าน DAO นั้นมีช่องโหว่อยู่เช่นกัน เนื่องจากคุณจะต้องทำการล็อกเหรียญไว้ในระบบก่อน ยังไม่สามารถถอนออกมาได้ทันที ทำให้มีแฮ็กเกอร์สามารถเข้ามาขโมยในช่วงเวลานั้นๆ ได้ เหตุผลนี้เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้หลายคนคิดกันแตกต่างกันออกไป เกี่ยวกับวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้พวกเขาตัดสินใจที่จะเลือกใช้บล็อกเชนเดิมต่อไป แทนที่จะใช้อันที่อัพเดต จึงเป็นเหตุผลที่ถูกเรียกว่า Ethereum Classic

ETH 2.0 

Ethereum 2.0 นั้นเกิดมาจากการพัฒนาของ Ethereum ที่ตั้งใจจะอัพเกรดบล็อกเชนให้ก้าวไปได้อีกขั้น โดยที่มีเป้าหมายหลักคือการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ความเร็ว และขนาดการทำธุรกรรม เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างลื่นไหล และค่าธรรมเนียมราคาไม่มากจนเกินไป รวมไปถึงลดปัญหาต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ที่ผู้ใช้งานต้องประสบมาก่อน

ในการอัพเกรดครั้งนี้ถือเป็นการอัพเกรดระบบครั้งใหญ่ เพราะ Ethereum ก่อนหน้านี้ใช้ระบบ Proof of Work ซึ่งใน Ethereum 2.0 นี้ จะเปลี่ยนมาใช้ระบบ Proof of Stke แทน การอัพเกรดครั้งนี้เป็นสิ่งที่นักลงทุนหลายคนต่างพากันจับตามองว่า Ethereum จะทำได้ตามที่คาดหวังได้หรือไม่ เห็นได้อย่างชัดเจนว่า Ethereum ตั้งใจจะพัฒนาระบบเพื่อให้นักลงทุนสามารถเข้ามาใช้งานได้มากขึ้น และยังสามารถนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปพัฒนาโปรเจกต์บล็อกเชนต่างๆ ได้อีกด้วย

Ethereum vs. Bitcoin ต่างกันอย่างไร

ถึงแม้สองเหรียญนี้จะเป็นเหรียญเงินสกุลดิจิทัลเหมือนกัน แต่วัตถุประสงค์ในการใช้งานกลับแตกแตกต่างกันออกไป

Bitcoin ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการต่างๆ สามารถใช้งานได้เหมือนสกุลเงินทั่วไป ผู้คนมองว่าบิทคอยน์เป็นสินทรัพย์ประเภทเก็บรักษามูลค่า หรือ Store of Value มากกว่า เนื่องจากบิทคอยน์นั้นมีจำนวนเหรียญที่จำกัดเพียง 21 ล้านเหรียญเท่านั้น

ในส่วนของ Ethereum จุดประสงค์ในการสร้างนั้นมีไว้เพื่อรองรับเครือข่ายบล็อกเชนที่สามารถรับรอง DApp (Decentralized Application)

 หรือ แอปพลิเคชั่นแบบกระจายศูนย์ ทำให้นักพัฒนาสามารถมาพัฒนาโปรเจกต์บล็อกเชนต่างๆ บนระบบได้ เกิดเป็นแอปพลิเคชั่นต่างๆ บนโลกคริปโต เช่น การกู้ยืม การระดมทุน เป็นต้น นอกจากนี้จะสังเกตได้ว่า Ethereum เป็นเหรียญที่มีไม่จำกัดซึ่งแตกต่างจากบิทคอยน์ที่จะมีจำกัดเพียง 21 ล้านเหรียญเท่านั้น

FAQ: คำถามที่พบบ่อย

1.Smart Contract คืออะไร?

Smart Contract หรือที่เรารู้จักกันในอีกชื่อก็คือ สัญญาอัจฉริยะ ซึ่ง Smart Contract เปรียบเหมือนหัวใจหลักของ Ethereum เลยก็ว่าได้ Smart Contract เป็นระบบการทำงานแบบไม่มีตัวกลาง คือเป็นการเขียนโค้ดสร้างเงื่อนไขไว้บนสัญญา ระบบของ Smart Contract จะทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามสัญญาทุกอย่าง ซึ่งการเข้าไปแก้ไขสัญญาเหล่านี้เป็นเรื่องที่ยากมากๆ ดังนั้นจึงถือว่าเป็นระบบที่ค่อนข้างปลอดภัยเลยทีเดียว อีกทั้งยังสามารถลดข้อผิดพลาดต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากมนุษย์อีกด้วย ทั้งในด้านความปลอดภัย และความแม่นยำ ด้วยหมดที่กล่าวมานี้ ทำให้ระบบ Smart Contract เ)นที่สนใจสำหรับหลากหลายธุรกิจ เห็นได้จากทุกวันนี้ Smart Contract ถูกนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น สัญญาค่าขาย, สัญญาว่าจ้าง, สัญญาเช่าซื้ออสังหา และในอีกหลากหลายธุรกิจเป็นต้น

2.DAPP คืออะไร?

DApp หรือ Decentralized Application เป็นการพัฒนาบนระบบบล็อกเชนของ Ethereum ซึ่งใช้ Smart Contract เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา เป็นการสร้างแอปพลิเคชั่นแบบไม่มีตัวกลาง จะเป็นรูปแบบเครือข่ายแบบ Peer to peer ซึ่งแอปพลิเคชั่นเหล่านี้ก็เหมือนกับแอปพลิเคชั่นที่เราใช้ทั่วไป แต่แค่เปลี่ยนเป็นใช้เครือข่ายบล็อกเชนในการพัฒนาเป็นหลัก อาจจะมีข้อเสียในเรื่องการประมวล และการอัพเดทที่ยุ่งยาก ต้องใช้นักพัฒนาที่มีความเชี่ยวชาญด้านบล็อกเชนโดยเฉพาะ

3.Gas ของ Ethereum

Gas ในที่นี้ความหมายของมันจริงๆ แล้วก็คือ “ค่าธรรมเนียม” นั้นเอง ซึ่งทุกครั้งที่เราต้องใช้ Smart Contract ที่อยู่บนบล็อกเชนของ Ethereum จะมีนักขุดที่ต้องคำนวนในเครือข่าย ซึ่งค่า Gas เหล่านี้จะถูกนำไปเป็นส่วนแบ่งให้กับนัดขุด การเสียค่า Gas เหล่านี้จะต้องเสียก็ต่อเมื่อเราใช้งานโปรเจกต์ที่ถูกพัฒนาบน Ethereum เท่านั้น ซึ่งค่า Gas จะไม่เท่ากันเสมอไป ขึ้นอยู่กับราคาของ Ethereum ในตลาดในช่วงนั้น และความหนาแน่นของผู้ใช้งาน หากผู้ใช้งานเยอะมากๆ จะทำให้การทำธุรกรรมช้าขึ้น หลายคนจึงยอมเสียค่า Gas ให้แพงขึ้นกว่าคนอื่นๆ เพื่อให้ธุรกรรมของตนเองเสร็จแล้วมากขึ้น และอย่างที่รู้กันดีว่าค่า Gas ของEthereum นั้นแพงมากๆ ทำให้ต้องรีบพัฒนาระบบเป็น Ethereum 2.0 เพื่อขยายการรองรับผู้ใช้งานได้มากขึ้น และอาจจะช่วยทำให้ค่า Gas ลดลงไปได้บ้าง