EOS เป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่มีศักยภาพในปัจจุบันนี้ หลายคนขนานนามให้กับ EOS ว่าจะเป็นเหรียญที่ออกมาเพื่อฆ่า Ethereum บทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า EOS คืออะไร ทำงานอย่างไรและเป็นเหรียญฆ่า Ethereum ได้อย่างไรกัน
เหรียญ EOS คืออะไร?
EOS เป็นโปรเจกต์ที่ถูกสร้างขึ้นโดย Dan Larimer (ผู้ร่วมก่อตั้งทั้ง Bitshares และ Steemit) และ Brendan Blumer ซึ่งได้เปิดให้เข้ามาระดมทุน หรือ ICO ในวันที่ 26 มิถุนายน 2017 และระดมทุนเสร็จในวันที่ 1 มิถุนายน 2018 ซึ่งกินระยะเกือบ 1 ปี และได้รับเงินระดมทุนไปกว่า 1000 ล้าน USD ซึ่งถือว่าเป็นการระดมทุนที่นานที่สุด และได้ทำลายสถิติการระดมทุนทั้งหมดในขณะนั้น
EOS นั้นคือโปรเจกต์ Blockchain ที่ตั้งใจทำให้เป็นระบบปฎิบัติการแบบ Decentralized สำหรับ Decentralized Application (DApps) โดยตั้งใจที่จะทำให้สามารถทำรายการได้หลายล้านธุรกรรมต่อวินาที และไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆในการทำธุรกรรมต่างๆบนเชน EOS ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากโปรเจกต์ Blockchain อื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังเป็นเพียงแค่เป้าหมายสามารถทำได้เพียงไม่มีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม แต่การทำธุรกรรมได้หลายล้านต่อวินาทีนั้นยังไม่สำเร็จ
โดยสาเหตุที่ EOS จะสามารถทำธุรกรรมได้ถึงหลายล้านธุรกรรมต่อวินาทีเป็นเพราะ กลไก Delegated-Proof-of-stake (DPoS) ซึ่งต่างจากทาง Bitcoin หรือ Ethereum ที่ใช้ระบบ Proof-of-work (PoW) โดยในปัจจุบันหลายโปรเจกต์ Blockchain ใหม่ๆได้หันมาใช้ระบบ Proof-of-stake แทน เนื่องจากมีประสิทธิภาพ และไม่กินพลังงาน รวมทั้งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่เท่ากับการเปิดเครื่องขุด และสาเหตุที่ทาง EOS นั้นไม่จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมนั้นเป็นเพราะผู้ใช้จำเป็นต้องนำ EOS เพื่อไป Stake เป็น CPU Ram Net แทนระบบ Proof-of-Stake ทั่วไปที่เพียงแค่เอาเหรียญไป Stake และผู้ที่เข้ามาใช้ก็จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับผู้ที่ Stake เพื่อเป็นผู้ตรวจสอบ
ทำไม EOS ถึงอยากทำธุรกรรมให้ถึง 1 ล้านครั้งต่อวินาที
สาเหตุที่ EOS ต้องการจะทำสิ่งนี้เนื่องจากเมื่อมีจำนวน DApps ที่มากมาย และมีคนสร้าง DApps ที่คล้ายๆกับ Facebook บน EOS ได้ และภายในนั้นมีผู้ใช้งานมากมายจนทำให้มีทั้งคอมเม้น และไลค์ เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็น แสน รายการต่อวินาที ซึ่ง Blockchain ทั่วไปไม่มีความสามารถที่จะประมวลผลได้ทันอย่างแน่นอน เนื่องจาก 1 ไลค์ก็เปรียบเสมือนกับ 1 ธุรกรรม และถ้าหากมี DApps คล้ายๆกันหลากหลายมากขึ้นไปก็ยิ่งจำเป็นที่จะต้องการให้ทำได้มากกว่า 1 ล้านครั้งต่อวินาที
เหรียญ EOS จะเป็นเหรียญฆ่า Ethereum ได้อย่างไร
เนื่องจาก EOS และ Ethereum นั้นมีความตั้งใจที่จะสร้างขึ้นนั้นมีความคล้ายคลึงกัน คือเป็น Blockchain Network สำหรับ DApps ทั่วโลก แต่สาเหตุที่หลายคนขนานนามให้กับ EOS ว่าจะเป็นเหรียญที่ออกมาเพื่อฆ่า Ethereum เพราะ EOS นั้นมีคุณสมบัติทั้งหมดที่ Ethereum มี และเหนือกว่าในด้านของความเร็วการประมวลผล แถมยังสามารถประมวลผลธุรกรรมได้เร็วกว่า Ethereum ถึง 2 เท่าเป็นอย่างต่ำ

ภาพอ้างอิงจากเว็ปไซต์: https://www.bitdegree.org/crypto/what-is-eos
จะเห็นว่าในการยืนยัน 1 ครั้งของ ETH นั้นใช้เวลาไป 5 ถึง 40 วินาที และสามารถประมวลผลได้เพียง 15-17 ธุรกรรมต่อวินาที ในขณะที่ EOS ใช้เพียง 1.5 วินาที ไม่เพียงแค่นั้น Ethereum ยังต้องจ่ายค่าการประมวลผลสูงต่างกับ EOS ที่ไม่จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม
นอกจากนี้ ด้วยกลไก DPoS เครือข่าย EOS ยังมีความสามารถที่จะหยุดธุรกรรมในเครือข่ายได้อีกด้วย มันอาจจะดู Centralized แต่ความจริงคือ มันมีไว้เพื่อป้องกันเหตุการณ์โดนแฮ็ก เช่น เมื่อปี 2016 มี DAO ถูกแฮ็ก Ethereum เป็นมูลค่ากว่า 50 ล้านดอลลาร์ ทำให้มันต้องทำการ Hardfork เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเลยทีเดียว ซึ่ง EOS จะสามารถป้องกันเหตุการณ์นั้นได้
EOS ทำงานยังไง
ด้วยระบบ DPoS ของทาง EOS นั้นจะให้มีตัวแทนจำนวน 21 คนในการตรวจสอบ ซึ่งก็จะมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องสำหรับแต่ละบล็อก ซึ่งผู้ตรวจสอบนี้จะถูกสับเปลี่ยนตามเวลาของบล็อก หรือ 3 วินาที และมีการสุ่มโดยใช้เครือข่าย ซึ่งผู้ที่ถูกคัดเลือกมาก็จะมีหน้าที่ตรวจสอบการทำธุรกรรมที่มีอยู่ภายในบล็อก
สำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือก แล้วไม่สามารถตรวจสอบได้ถูกต้อง และทันเวลาก็จะถูกทำโทษโดยการลบออกจากการเป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเวลาเฉลี่ยในการยืนยันบล็อกธุรกรรมบน EOS นั้นใช้เวลาเพียง 1.5 วินาที
ด้วย Proof of Stake(PoS) นั้นทำให้มีศักยภาพในการขยายขนาดมากมาย และไม่ว่าชุมชนจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน จำนวนผู้ที่รับมอบหมายรายวันยังคงเล็กน้อยสำหรับการตรวจสอบธุรกรรม ซึ่งช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นไปได้อย่างรวดเร็วเช่นเคย และอีกหนึ่งข้อดีของ EOS คือการที่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมอีกด้วย
สถาบันการเงินที่ใช้ EOS
Galaxy Digital Assets – สินทรัพย์ดิจิทัลของ Galaxy เป็นกองทุนรวมที่เน้นด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนและมีกองทุนเฉพาะ EOS เป็นหลัก โดยวัตถุประสงค์ของกองทุนคือการช่วยสนับสนุนและพัฒนาเครือข่าย EOS ในขณะเดียวกันก็มีการลงทุนในทีมและธุรกิจที่ต้องการนำซอฟต์แวร์บล็อกเชน EOS มาใช้
Fin Lab – Fin Lab เป็นบริษัทสัญชาติเยอรมันที่ใช้เทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญ เพื่อช่วยสร้างและพัฒนาบริษัทอื่นๆ พวกเขาเชี่ยวชาญในการสนับสนุนสตาร์ทอัพ FinTech และบล็อกเชน EOS เป็นหนึ่งในหลายๆ วิธีในการกำจัดกระแสข้อมูลและปรับปรุงกระบวนการของบริษัท
สรุปแล้ว EOS นั้นเป็นโครงการที่มีคุณสมบัติทั้งหมดที่เหมือนกับ Ethereum มีแถมยังมาพร้อมกับความเร็วในการประมวลผล ด้วยสองอย่างที่กล่าวมาก่อให้เกิดการผสมผสานกันจนทำให้ EOS Blockchain นั้นพัฒนาไปเพื่อรองรับกับอนาคตที่จะมีธุรกรรมมากมายเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจาก EOS และ อีกหลายๆ Blockchain กำลังพยายามแข่งขันกับ Ethereum ซึ่งทำให้เทคโนโลยี Blockchain ทั้งหมดเข้าถึงผู้คนได้ง่ายยิ่งขึ้น และยังดียิ่งขึ้นไปอีกด้วย อีกทั้งจากการพัฒนาเหล่านี้ทำให้มี DApps จำนวนมากมายที่เร่งพัฒนา และพร้อมจะเติบโตเข้ามาสู่โลก Blockchain มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม