ในโลกการลงทุน มีเครื่องมือทางการเงินหลากหลายชนิด อาจจะทำให้นักลงทุนหลายคนงงกัน ที่วันนี้ผมจะแนะนำคือ CFD(Contract for Difference) นะครับ บทความนี้จะกล่าวถึงเนื้อหา CFD คืออะไร ฟีเจอร์ของ CFD มีอะไรบ้าง CFD ทำงานอย่างไร ความน่าสนใจของ CFD ความเสี่ยงในการเทรด CFD และสุดท้ายคือการเริ่มต้นเทรด CFD ได้อย่างไร
เนื้อหาอาจจะยาวไปหน่อย แต่เรื่องการลงทุนมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ มันมีความจำเป็นมากที่เราต้องใช้เวลามาทำความเข้าใจก่อนที่เราเอาเงินลงไป หวังว่าจะเป็นประโยชต่อนักลงทุนทุกท่านนะครับ
1. ทำความรู้จักกับ CFD: CFD คืออะไร
ก่อนอื่นเรามาดูว่า กิจกรรมรายสัปดาห์ของนักเทรด CFD อาจเป็นยังไงบ้าง
- เช้าวันจันทร์ตื่นมาด้วยข่าวความไม่สงบในตะวันออกกลาง คุณคาดว่าราคาทองคำจะปรับตัวสูงขึ้น จึงเข้าไปซื้อ CFD ทองคำในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์
- ถัดมาในวันอังคาร เมื่อได้ยินข่าวว่า OPEC กำลังจะลดกำลังการผลิตซึ่งจะผลักดันให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น คุณไม่รอช้ารีบเข้าไปซื้อ CFD น้ำมันดิบเพื่อเก็งกำไร
- วันพุธ มีข่าวว่ายอดขาย iPhone ทำตัวเลขได้ดี คุณจึงเข้าซื้อ CFD ในหุ้น Apple โดยคาดหวังว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นจากผลกำไรที่บริษัทจะทำได้
- วันพฤหัสฯ คุณได้ยินข่าวว่าอังกฤษกำลังจะทำ Brexit และคาดการณ์ว่าเงินปอนด์จะอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว คุณจึงตัดสินใจขาย (Short Selling) CFD คู่สกุลเงิน GBPUSD เพื่อคาดหวังผลกำไรจากส่วนต่างราคาขาลง
- วันศุกร์ ตัวเลขจีดีพีของสหรัฐอเมริกาไตรมาสแรกรายงานการเติบโตได้ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ แน่นอนคุณไม่พลาดโอกาสนี้ คุณเข้าซื้อ CFD SP500 ที่อ้างอิงกับดัชนี S&P500 ของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา และคาดหวังส่วนต่างของการเคลื่อนไหวในแนวโน้มขาขึ้นเช่นกัน
จากตัวอย่างของกิจกรรมรายสัปดาห์ของนักเทรด CFD คุณอาจจะสงสัยว่า CFD คืออะไรกันแน่และทำงานอย่างไร ทำไมถึงทำให้นักเทรดสามารถทำการเทรดสินทรัพย์หลากหลายชนิดได้และมีข้อได้เปรียบอะไรบ้าง นักลงทุนรายย่อยตัวเล็กๆ อย่างเราจะสามารถทำได้บ้างหรือไม่ ต่อไปก็ตามมาดูกันนะครับ
CFD(Contract for Difference) คือ สัญญาการซื้อขายส่วนต่าง ที่มีลักษณะเป็นสัญญาอนุพันธ์ชนิดหนึ่ง เนื่องจากเครื่องมือตัวนี้จะให้ผู้ถือสามารถทำกำไรจากส่วนต่างราคาสินค้าในตลาดการเงิน เช่น หุ้น ค่าเงิน ดัชนี สินค้าโภคภัณฑ์ และ สกุลเงินดิจิทัล โดยที่ไม่ต้องเป็นเจ้าของหรือถือครองสินทรัพย์เหล่านั้น
หรือพูดให้เจาะจงลงไป เวลาที่คุณเทรด CFD นั่นหมายความว่าคุณกำลังเข้าทำการซื้อขายส่วนต่างของราคาสินค้า ณ จุดที่เป็นราคาเปิดและจุดที่เป็นราคาปิดสัญญา และส่วนต่างนั้นก็คือผลกำไรที่นักเทรดจะได้รับ
การเทรด CFD สร้างความได้เปรียบให้กับนักเทรดได้อยู่ 2 ด้านใหญ่ ๆ อย่างแรกการเทรด CFD ทำให้คุณสามารถเก็งกำไรจากราคาสินทรัพย์ได้ทั้งแนวโน้มราคาขาขึ้นและขาลง และผลกำไรหรือขาดทุนที่จะได้รับก็ขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ทิศทางแนวโน้มราคาด้วยเช่นกัน ความได้เปรียบอีกด้านหนึ่งคือการใช้อัตราทด (Leverage) ซึ่งนั่นหมายความว่าคุณสามารถคาดหวังผลกำไรจากลงทุนขนาดใหญ่ได้โดยที่ไม่ต้องวางเงินเต็มจำนวนทั้งหมด
2. ฟีเจอร์ที่ใช้บ่อยของ CFD
การซื้อขาย CFD นั้นมีฟีเจอร์ที่นักเทรดต้องใช้เป็นประจำอยู่ 4 – 5 อย่าง เช่น สถานะของสัญญา (Long/ Short), อัตราทด (Leverage), เงินวางประกัน (Margin), และ การประกันความเสี่ยง (Hedging)
★ สถานะของสัญญา (Long/ Short) ★
การเทรด CFD ทำให้นักเทรดสร้างผลกำไรได้ทั้งจากทิศทางราคาขาขึ้นและขาลง
ซึ่งแตกต่างจากการเทรดผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบดั้งเดิมที่จะสามารถทำกำไรได้เฉพาะทิศทางราคาขาขึ้นจากการซื้อถือและขายเพื่อให้ได้ส่วนต่างผลกำไรเท่านั้น
แต่สำหรับการเทรด CFD นอกจากนักเทรดจะทำกำไรจากทิศทางราคาขาขึ้นด้วยการเปิดสถานะซื้อ (Long Position) แล้วก็ยังสามารถทำกำไรจากทิศทางราคาขาลงได้ด้วยการเปิดสถานะขาย (Short Position) เพื่อคาดหวังกำไรจากส่วนต่างราคาของขาลงได้ในรูปแบบเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น
- การเปิดสถานะซื้อ (Long Position)
หากคุณมองว่าราคาทองคำปัจจุบันที่ $1800 กำลังจะปรับตัวขึ้นเป็น $1850 ให้เปิดสถานะซื้อ CFD ทองคำ
- การเปิดสถานะขาย (Short Position)
หากคุณมองว่าราคาทองคำปัจจุบันที่ $1800 กำลังจะปรับตัวลงเป็น $1750 ให้เปิดสถานะขาย CFD ทองคำ
★ อัตราทด (Leverage) ★
เป็นฟีเจอร์ของ CFD ที่ทำให้นักเทรดสามารถเปิดสถานะขนาดใหญ่ได้โดยที่ไม่ต้องวางเงินลงทุนเต็มจำนวน
เช่น หากคุณต้องการเปิดสถานะซื้อหุ้น Apple จำนวน 100 หุ้น สำหรับการเทรดปกติคุณจะต้องวางเงินลงทุนทั้งก้อน แต่สำหรับการเทรด CFD นักเทรดจะวางเงินแค่เพียงบางส่วนเท่านั้น เช่น หากโบรกเกอร์ CFD ให้อัตราทดสำหรับกรณีนี้ที่ 1:20 คุณสามารถวางเงินแค่ 5% ของมูลค่าสัญญาทั้งหมด ยิ่งตัวเลขอัตราทดที่โบรกเกอร์ให้สูงมากขึ้นเท่าไหร่จำนวนเงินวางประกันที่เรียกก็จะยิ่งน้อยลงไปเท่านั้น
ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราทดจะช่วยให้คุณใช้เงินวางประกันน้อยลง แต่ก็ควรคำนึงถึงด้วยว่าผลกำไรหรือผลขาดทุนนั้นคำนวณจากขนาดของสัญญา ซึ่งยิ่งสัญญามีขนาดใหญ่ นักเทรดจะมีโอกาสได้กำไรมากขึ้นเช่นเดียวกับที่หากผิดทางก็สามารถกลายเป็นผลขาดทุนจำนวนมากจนทำให้สูญเสียเงินฝากทั้งหมดในพอร์ตได้เช่นกัน ดังนั้นนักเทรดควรคำนึงถึงความเสี่ยงของอัตราทดและใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์นี้ในความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้
★ เงินวางประกัน (Margin) ★
การเทรดด้วยอัตราทด หลายครั้งถูกเรียกแทนเป็น ‘การเทรดด้วยมาร์จิ้น’ เนื่องจากการเปิดสถานะจะเรียกร้องเงินลงทุนแค่บางส่วนที่เราเรียกกันว่า มาร์จิ้น หรือ เงินวางประกันนั่นเอง
นอกจากนี้ทั้ง อัตราทด และ มาร์จิ้น ยังมีความสัมพันธ์ในด้านกลับของกันและกัน นั่นคือ จำนวน 5% ของเงินวางประกันในการเทรดดังที่กล่าวมาก่อนหน้านั้นเรียกว่า มาร์จิ้น ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้ตามข้อกำหนดของแต่ละโบรกเกอร์
ย้อนกลับไปที่ตัวอย่างเดิม เมื่ออัตราทดที่ใช้คือ 1:20 เราจะคำนวณมาร์จิ้นได้ที่ 5% แต่หากอัตราทดเปลี่ยนไปเป็น 1:100 มาร์จิ้นก็จะเปลี่ยนเป็น 1%
สูตรการคำนวณมาร์จิ้น
มาร์จิ้น = ราคาสัญญา x ขนาดสัญญา x จำนวนสัญญา x อัตราส่วนมาร์จิ้น
ซึ่งสูตรคำนวณนี้แพลตฟอร์มการเทรดจะมีการคำนวณให้แบบอัตโนมัติ แต่หากนักเทรดต้องการคำนวณเองก็สามารถทำได้
– ตัวอย่างการคำนวณมาร์จิ้นการเทรด GBPUSD โบรกเกอร์ Mitrade –
ในการเทรดสกุลเงิน GBPUSD 1 ล็อตมาตรฐาน (100,000 GBP) กับ Mitrade ที่ราคา 1.39226 ด้วยเลเวอเรจ 1:200 การเปิดสถานะนี้จะมีอัตราส่วนมาร์จิ้นเริ่มต้นที่ 0.5% ของมูลค่าสัญญาทั้งหมด โดยเทรดเดอร์สแค่ฝากมาร์จิ้น $696.13 ก็สามารถเปิดคำสั่งได้แล้ว และหากปรับลดขนาดสัญญาเป็น 0.01 ล็อตมาตรฐาน มาร์จิ้นที่ใช้ก็จะยิ่งลดลงเป็น $6.96 ดอลล่าร์ ซึ่งตัวเลขนี้คือตัวอย่างการคำนวณมาร์จิ้นในการเปิดสัญญา
สำหรับการเทรด CFD นั้นมีการกำหนดมาร์จิ้นไว้ 2 ชนิด นั่นคือ มาร์จิ้นในการเปิดสัญญา (Deposit Margin) ที่เป็นเงินวางขั้นต่ำสำหรับการเปิดสัญญาหนึ่ง ๆ และ มาร์จิ้นในการรักษาสถานะสัญญา (Maintenance Margin) ที่เป็นจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับการรักษาสถานะสัญญาเอาไว้ ซึ่งหากมูลค่าสัญญาลดต่ำกว่ามาร์จิ้นในการรักษาสถานะสัญญา สถานะของนักเทรดก็จะถูกบังคับปิด (Force Sell) โดยอัตโนมัติ และรับรู้เป็นผลขาดทุนทันที
★ การประกันความเสี่ยง (Hedging) ด้วย CFD ★
นอกจากใช้เก็งกำไรดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว สัญญา CFD ยังสามารถนำมาใช้ในการประกันความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนได้ด้วย
ตัวอย่างเช่น
หากคุณมองว่าหุ้น Facebook ในพอร์ตที่คุณถืออยู่กำลังจะปรับตัวลงในระยะสั้นเนื่องมาจากความผิดหวังของนักลงทุนต่อผลการดำเนินงานที่เพิ่งประกาศออกมา แทนที่คุณจะขายหุ้นทั้งหมดออกไปเพื่อไปซื้อกลับในราคาต่ำและเผชิญกับความเสี่ยงจากการขายรวมถึงต้นทุนค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้น คุณสามารถใช้เครื่องมืออย่าง CFD เพื่อ Short หุ้น Facebook ในมูลค่าสัญญาที่เท่ากับจำนวนหุ้นในพอร์ต และทำกำไรจากการปรับตัวลงของหุ้น Facebook ได้โดยที่ไม่ต้องขายหุ้นที่ถือไว้ออกมา
3. CFD ทำงานอย่างไร
ถึงตอนนี้เราก็พอจะทราบกันไปบ้างแล้วว่า CFD คืออะไร และตอนนี้เราก็จะไปทำความรู้จักกับการทำงานของ CFD กัน ซึ่งในส่วนนี้เราจะพูดถึงปัจจัยที่จะส่งผลต่อกำไรจากการเทรด CFD กัน นั่นคือ สเปรดและคอมมิชชั่น ขนาดของสัญญา ระยะเวลาการถือสัญญา และการคำนวณผลกำไร/ ขาดทุน
★ คอมมิชชั่น (Commission) และสเปรด (Spread) ★
สเปรดและคอมมิชชั่นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะส่งผลต่อกำไร/ขาดทุนของนักเทรด เนื่องจากปัจจัยตัวนี้ถือเป็นต้นทุนในการเทรดที่นักเทรดต้องแบกรับ ซึ่งหากต้นทุนต่ำก็มีโอกาสที่นักเทรดจะได้กำไรมากขึ้น ซึ่งต้นทุนส่วนนี้แบ่งออกได้เป็น
- คอมมิชชั่น (Commission)
คอมมิชชั่น (Commission) คือค่าธรรมเนียมที่โบรกเกอร์ CFD เรียกเก็บเป็นก้อนจากนักเทรดเพื่อเป็นค่าดำเนินงาน ทำให้ไม่ว่านักเทรดซื้อขายเท่าไหร่ก็ต้องแบกรับต้นทุนก่อนเป็นอย่างแรก เช่น โบรกเกอร์ FXTM
- สเปรด (Spread)
สเปรด (Spread) คือ ส่วนต่างระหว่างราคาซื้อ (Bid) และราคาขาย (Ask) ในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้นักเทรดต้องซื้อขายที่ราคาพรีเมียม (Premium) เล็กน้อย และส่วนของพรีเมี่ยมนี้เองที่จะกลายเป็นส่วนที่โบรกเกอร์ได้ไป ซึ่งโบรกเกอร์ CFD บางรายที่ไม่มีการคิดค่าคอมมิชชั่นจากลูกค้า เช่น โบรกเกอร์ MiTrade
หน่วยของสเปรด คือ pip หมายถึง การนับค่าจุดทศนิยมตัวสุดท้ายหรือทศนิยมตำแหน่งที่ 4 ไล่ขึ้นมา แต่จะมีเพียง USDJPY นับค่าจุดทศนิยมตำแหน่งที่ 2
ตัวอย่างการคำนวณค่าสเปรด เช่น การเทรด EURUSD กับ Mitrade ราคาขาย (Ask) คือ 1.20866 ราคาซื้อ (Bid) คือ 1.20876 ดังนั้น
สเปรด = (1.20876 – 1.20866) = 0.0001 ซึ่งก็คือ 1 pip
นั่นแปลว่าหากคุณซื้อ EURUSD 1 ล็อตมาตรฐาน ต้นทุนสำหรับการเทรดครั้งนี้คือ 1 pip*10 = $10 ซึ่งหากราคาเคลื่อนไหว 1 pip ขึ้นไปก็ทำให้สถานะนี้มีกำไรได้แล้ว แต่ในตลาดซื้อขายจริง EURUSD จะมีความผันผวนของราคาต่อวันสูงกว่า 60 pip อยู่แล้ว ทำให้การเทรด CFD บนเงื่อนไขนี้ทำกำไรได้ไม่ยาก
นอกจากการคิดค่าธรรมเนียมแบบคอมมิชชั่นหรือสเปรดแล้วก็ยังมีโบรกเกอร์ เช่น IG ที่คิดค่าธรรมเนียมในทั้งสองรูปแบบโดยแบ่งตามสินทรัพย์ที่นักเทรดใช้ เช่น หากมีการเทรดสกุลเงิน ดัชนี สินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงินดิจิทัล จะคิดค่าธรรมเนียมจากสเปรด แต่หากนักเทรดเลือกเทรดหุ้นจะคิดค่าธรรมเนียมจากคอมมิชชั่น เป็นต้น
★ ขนาดของสัญญา (Deal size) ★
การเทรด CFD จะมีการซื้อขายที่ขนาดสัญญามาตรฐาน (lots) ซึ่งขนาดของสัญญามาตรฐานนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของสินค้าอ้างอิง ซึ่งมักจะอ้างอิงไปกับขนาดของสัญญาที่มักจะเทรดกันจริง ๆ ในตลาด
ตัวอย่างเช่น โลหะเงิน ที่มักจะเทรดกันในตลาดฟิวเจอร์สที่ขนาด 5,000 ออนส์ต่อสัญญา เช่นเดียวกับ CFD ที่อ้างอิงขนาดจำนวนนี้สำหรับการซื้อขาย CFD โลหะเงิน 1 lot ที่จะมีมูลค่าเท่ากับการเทรดโลหะเงินในตลาดฟิวเจอร์ส 5,000 ออนส์
★ ระยะเวลาการถือสัญญา (Duration) ★
โดยทั่วไปสัญญา CFD ไม่มีวันหมดอายุ ดังนั้นนักเทรดจึงสามารถเปิดและถือสถานะสัญญา CFD ไปได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะมีการสั่งปิดสถานะที่ทำได้โดยการส่งคำสั่งในทิศทางตรงกันข้ามกับสถานะที่เปิดไว้ เช่น สถานะ Long ทองคำ CFD จำนวน 500 สัญญาก็สามารถปิดได้ด้วยการขายทองคำ 500 สัญญาเช่นเดียวกัน
CFD เป็นเครื่องมือสำหรับการเทรดระยะสั้น แต่ก็มีบ้างที่นักเทรดต้องถือสถานะเป็นเวลานาน และหากมีการถือสถานะข้ามช่วงปิดตลาดซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลา 22.00 น. ตามเวลาอังกฤษ หรือประมาณ 4.00 น. ตามเวลาประเทศไทย สถานะของสัญญาที่ถูกเปิดไว้ก็จะถูกคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมที่เราเรียกกันว่า สว็อป (Swap) หรือค่าธรรมเนียมการถือคำสั่งข้ามคืนและกลายเป็นอีกหนึ่งต้นทุนที่นักเทรดต้องแบกรับ ต้นทุนตัวนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมูลค่าสถานะที่นักเทรดเปิดทิ้งไว้และเรทค่าสว็อป
สูตรการคำนวณค่าธรรมเนียมการถือคำสั่งข้ามคืน* = ล็อตในการเทรด x ขนาดสัญญา x ราคาเปิด x ค่าธรรมเนียมการถือคำสั่งซื้อขายข้ามคืน (%)
*ทั้งนี้อาจมีความแตกต่างกันไปในแต่ละโบรกเกอร์ได้
ตัวอย่างเช่น
การเทรด CFD ที่อ้างอิงกับราคาหุ้น Twitter กับโบรกเกอร์ MiTrade มีการคิดค่าธรรมเนียมการถือคำสั่งซื้อข้ามคืน 0.0304% ค่าธรรมเนียมการถือคำสั่งขายข้ามคืนคือ 0.0293%
- การถือคำสั่งซื้อ Twitter ข้ามคืนจำนวน 5 lots จะต้องเสียค่าธรรมเนียม = 5 x 1 x 53.5 x 0.0304% = $0.081 ต่อวัน
- การถือคำสั่งขาย Twitter ข้ามคืนจำนวน 5 lots จะต้องเสียค่าธรรมเนียม = 5 x 1 x 53.5 x 0.0293% = $0.078 ต่อวัน
ทั้งนี้ตามปกติแล้วเรทค่าธรรมเนียมตัวนี้นักเทรดไม่จำเป็นต้องคำนวณเอง เนื่องจากแพลตฟอร์มการเทรดจะคำนวณและหักในกำไรอัตโนมัติอยู่แล้ว
★ การคำนวณผลกำไรและขาดทุน ★
การคำนวณผลกำไรขาดทุนจากการเทรด CFD จำเป็นต้องคิดจากขนาดของสัญญาทั้งหมดคูณด้วยส่วนต่างระหว่างราคาที่เปิดและปิดสัญญา
สถานะ Long CFD : กำไร/ขาดทุน = ( ราคาปิด – ราคาเปิด ) x ล็อตในการเทรด x ขนาดสัญญา
สถานะ Short CFD : กำไร/ขาดทุน = ( ราคาเปิด – ราคาปิด ) x ล็อตในการเทรด x ขนาดสัญญา
ตัวอย่าง
การคำนวณกำไร/ขาดทุนจากการเปิด Long ทองคำ CFD จำนวน 1 Lot ที่ราคา $1800 และปิดได้ที่ราคา $1850
กำไร/ ขาดทุน = ( 1850 – 1800 ) x 1 x 100
= $5,000
ทั้งนี้ สำหรับการคำนวณผลกำไรให้ใกล้เคียงที่สุดจะต้องมีการรวมค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ต้องจ่ายสำหรับสถานะที่เปิดไว้เข้าไปด้วย เช่น หากมีค่าธรรมเนียมการถือสถานะข้ามคืน ค่าคอมมิชชั่น หรือ ค่าธรรมเนียมการรับประกันการปิดสถานะ (guaranteed stop fees) ซึ่งแน่นอนว่าหากต้นทุนต่าง ๆ มีมากก็จะเหลือกำไรน้อย แต่หากนักเทรดเลือกโบรกเกอร์ที่ให้ค่าธรรมเนียมต่ำ ก็จะเหลือผลกำไรมากตามไปด้วย
4. ความน่าสนใจของ CFD
จากฟีเจอร์ของ CFD ที่ได้กล่าวไปแล้ว เราจะพบว่าการใช้เครื่องมืออย่าง CFD ในการเทรดสินค้าต่าง ๆ ทำให้นักเทรดมีความได้เปรียบเหนือกว่าการเทรดสินค้าทางการเงินแบบดั้งเดิมหลายประการ ดังนี้
1) เทรดด้วยอัตราทด
ความได้เปรียบแรกของการเทรดด้วย CFD ทำให้นักเทรดไม่จำเป็นต้องวางเงินลงทุนเป็นจำนวนมาก แต่ก็สามารถคาดหวังผลกำไรจากขนาดสัญญาที่มีมูลค่าสูงได้ ซึ่งนอกจากจะเพิ่มโอกาสในการทำกำไรแล้ว ก็ยังช่วยให้นักเทรดเข้าถึงการเทรดสินค้าชนิดต่าง ๆ ได้ด้วยเงินลงทุนที่ไม่มากด้วย
2) เทรดได้ทั้งขาขึ้นและขาลง
CFD เป็นเครื่องมือที่สร้างผลกำไรจากส่วนต่างราคาเปิด/ปิดสถานะ ดังนั้นจึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือไม่กี่ชนิดในตลาดการเงินที่ช่วยให้นักเทรดสามารถสร้างผลกำไรได้ทั้งทิศทางราคาขาขึ้นและขาลง
3) มีสภาพคล่องสูง
CFD เป็นเครื่องมือที่มีสภาพคล่องสูง ช่วยให้ต้นทุนในการเทรด (สเปรดราคา) ต่ำ เปิดปิดสถานะได้ง่ายโดยที่ไม่เสียราคา
4) ใช้เฮดจ์สถานะได้ง่าย
เนื่องจาก CFD มีสภาพคล่องสูงและมีความคล่องตัวในการเทรด ทำให้เครื่องมือตัวนี้ถูกนำมาใช้ในการประกันความเสี่ยงหรือเฮดจ์สถานะสินทรัพย์ต่าง ๆ ในพอร์ตการลงทุนได้ง่าย โดยไม่ต้องกังวลว่าจะซื้อขายไม่ได้
5) สามารถเทรดได้ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน
เทรดเดอร์สามารถเทรดได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่บ้างหรือระหว่างทางด้วยเดสก์ทอปหรือโทรศัพท์มือถือ
6) สามารถเทรดสินค้าหลากหลายชนิดได้ด้วยการใช้เพียง 1 บัญชี
แค่ล็อกอินเข้าสู่บัญชี CFD นักเทรดจะสามารถเลือกสินค้าได้มากมายไม่ว่าจะเป็นสกุลเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ หุ้น ดัชนี รวมทั้งสกุลเงินดิจิทัล โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีแยกให้เสียเวลา
7) มีระบบถอนเงินแบบ T+0
สามารถรับรู้ผลกำไรและถอนเงินได้ทันที สำหรับการเทรดตราสารทางการเงินรูปแบบอื่น เช่น หุ้น หรือกองทุน นักลงทุนจำเป็นต้องรอเวลาให้ระบบจัดการผลกำไรและคำสั่งถอนเงินให้เรียบร้อย ซึ่งมักใช้เวลานาน 1 – 2 วัน ( T+1 หรือ T+2 ) แต่สำหรับการเทรด CFD นักเทรดสามารถรับรู้ผลกำไรได้ทันทีหลังจากปิดสถานะ และจำนวนเงินเหล่านั้นก็เป็นเงินที่สามารถส่งคำสั่งถอนได้ทันที โดยไม่ต้องรอหลายวันให้เสียเวลา
5. ความเสี่ยงในการเทรด CFD
ไม่ว่าการเทรดด้วย CFD จะสร้างความได้เปรียบมากมายให้กับนักเทรด สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงอยู่เสมอก็คือ CFD เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งแม้จะสามารถเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้กับนักเทรดได้จากการใช้อัตราทดช่วยขยายขนาดของการลงทุน แต่ก็สามารถสร้างผลขาดทุนเป็นจำนวนมากได้ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้โบรกเกอร์ผู้ให้บริการเทรด CFD ปัจจุบันยังไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายไทย นักเทรดจึงต้องเผชิญความเสี่ยงกับโบรกเกอร์มากมายที่มีทั้งผู้ที่ให้บริการอย่างเป็นมืออาชีพรวมถึงมิจฉาชีพที่หวังจะฉกฉวยเงินลงทุนทั้งหมดของนักเทรดไป ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของเงินลงทุนนักเทรดจึงควรหาข้อมูลและรีวิวโบรกเกอร์ที่ให้บริการซื้อขาย CFD ให้ดีก่อนตัดสินใจเปิดบัญชี และควรเลือกเฉพาะโบรกเกอร์ที่ได้รับการกำกับดูแลจากหน่วยงานที่มีอำนาจในต่างประเทศเท่านั้น
6. จะเริ่มต้นเทรด CFD ได้อย่างไร: ขั้นตอนการเทรด CFD
สำหรับผู้ที่เริ่มสนใจการเทรด CFD สิ่งที่จำเป็นต้องตัดสินใจอย่างแรกเลยก็คือการเลือกโบรกเกอร์ที่จะเป็นคนคอยดูแลเงินทุนและเสนอแพลตฟอร์มการเทรดที่ตอบสนองต่อความต้องการของนักเทรด ซึ่งปัจจุบันมีโบรกเกอร์ CFD ให้เลือกมากมาย เช่น MiTrade, IG หรือ eToro
- Mitrade
Mitrade เป็นโบรกเกอร์สัญชาติออสเตรเลียที่ได้รับการกำกับดูแลจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และการลงทุนของออสเตรเลีย (ASIC) และ หน่วยงานด้านการเงินของเกาะเคย์แมน (CIMA) ให้บริการซื้อขาย CFD อ้างอิงราคาสินค้าหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสกุลเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ หุ้น ดัชนี สกุลเงินดิจิทัล คิดค่าธรรมเนียมจากสเปรดราคาโดยไม่มีค่าคอมมิชชั่น และมีสเปรดต่ำ และให้เลเวอเรจสูงถึง 1:200
ด้วยปรัชญาเริ่มต้นที่ต้องการจะทำให้การเทรดเป็นเรื่องง่าย Trading Simplified ทำให้การออกแบบหน้าเว็บไซต์ ขั้นตอนการลงทะเบียน รวมไปจนถึงแพลตฟอร์มการเทรดที่พัฒนาขึ้นเองด้วยการรวบรวมความต้องการจากนักเทรดมืออาชีพมาไว้ แต่มีขั้นตอนการใช้งานไม่ยุ่งยากในแบบที่มองครั้งเดียวก็เข้าใจ และคลิกเพียงไม่กี่ครั้งก็สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ทันที โบรกเกอร์นี้จึงเหมาะสำหรับนักเทรดทั้งมือใหม่ไล่ไปจนถึงมืออาชีพเลยทีเดียว
- IG
IG เป็นโบรกเกอร์สัญชาติอังกฤษที่บริหารจัดการโดยบริษัทการเงินเก่าแก่ของอังกฤษ IG ได้รับใบอนุญาตดำเนินงานจาก FCA ประเทศอังกฤษ ให้บริการซื้อขาย CFD ที่อ้างอิงอยู่กับสินค้าหลากหลายประเภท ทั้งดัชนี ค่าเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ และสกุลเงินดิจิทัล นอกจากนี้ยังมีบริการซื้อขายออปชั่น ฟิวเจอร์ส Spreadbetting ฯลฯ สำหรับ CFD มีการคิดค่าธรรมเนียมจากสเปรดราคาสินค้า และให้บริการบนแพลตฟอร์ม MT4 ในแบบที่นักเทรดคุ้นเคย IG เป็นโบรกเกอร์ที่มีประเภทบัญชีให้เลือกหลากหลาย มีสินค้าให้เลือกเทรดมาก จึงดูค่อนข้างซับซ้อนสำหรับนักเทรดมือใหม่ แต่อาจเหมาะสำหรับนักเทรดที่มีประสบการณ์ในตลาดอยู่แล้วระดับหนึ่ง
- eToro
eToro ได้รับการควบคุมดูแลจากหน่วยงาน FCA ให้บริการซื้อขาย CFD ที่อ้างอิงทั้งสกุลเงิน หุ้น ดัชนี สินค้าโภคภัณฑ์ ให้บริการในรูปแบบของ Dealing Desk ที่จะช่วยสร้างสภาพคล่องให้กับเทรดเดอร์แม้ในช่วงที่ตลาดมีวอลุ่มไม่มาก และเป็นอีกโบรกเกอร์หนึ่งที่มีรายได้จากสเปรดราคาสินค้า eToro เสนอแพลตฟอร์ม MT4 และ Mobile Apps ให้นักเทรดได้นำไปใช้ เป็นโบรกที่เปิดบัญชีง่าย แพลตฟอร์มใช้งานไม่ยาก แต่ยังมีสินค้าให้บริการไม่หลากหลายนักเมื่อเทียบกับโบรกเกอร์อื่น ๆ
หลังจากเลือกโบรกเกอร์ที่ให้บริการได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการเปิดบัญชี วางแผนการเทรด เตรียมมองหาโอกาสในการเทรด และเริ่มเปิดสถานะเพื่อทำกำไร ต่อไปผมจะยกขั้นตอนการเทรดโบรกเกอร์ MiTrade มาเป็นตัวอย่าง เพื่อช่วยเทรดเดอร์เริ่มต้นการเทรด CFD ได้ง่ายขั้น
★ ขั้นตอนการเทรดกับ MiTrade ★
1) เปิดบัญชีและโอนเงินเข้าบัญชี
การเปิดบัญชีและโอนเงินเข้าพอร์ตกับ MiTrade สามารถทำได้ทั้งบนเว็บไซต์และบนแอปพลิเคชั่นบนมือถือ เพียงกรอกข้อมูลลงทะเบียนให้เรียบร้อย ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการดำเนินการ
หลังจากการลงทะเบียนได้รับการยืนยันเรียบร้อยแล้วก็เป็นเวลาสำหรับการโอนเงินเข้าบัญชี ซึ่งทำได้ทั้งการฝากเงินผ่านธนาคารไทยแบบออนไลน์ หรือการสแกน QR Code Thai ของ MiTrade
ทั้งนี้หากคุณยังไม่มั่นใจ และต้องการทดลองใช้แพลตฟอร์มการเทรดของ MiTrade แบบไร้ความเสี่ยงต่อเงินทุน คุณก็สามารถเปิดบัญชีทดลองใช้ (Demo Account) และทดลองใช้งานด้วยเงินทุนเสมือนจริง $50,000 ดอลล่าร์จาก MiTrade
2) วางแผนการเทรด
ขั้นตอนต่อมาคือการสร้าวางแผนการเทรด ซึ่งเป็นโครงสร้างอย่างคร่าว ๆ สำหรับการเทรดของคุณ ซึ่งขั้นตอนนี้คุณจะต้องลงรายละเอียดตั้งแต่ แรงจูงใจในการเทรด การจัดสรรเวลา การวางเป้าหมาย การค้นหาทัศนคติต่อความเสี่ยงของตัวเอง เงินทุนที่สามารถนำมาเสี่ยงได้ ตลาดที่ต้องการเทรด รวมถึงกลยุทธ์ที่สนใจ
การวางแผนการเทรดจะช่วยให้การเทรดในสนามจริงเป็นไปอย่างมีแบบแผน ช่วยลดความกดดันในการตัดสินใจ และช่วยให้ตัดสินใจเทรดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากแผนนี้ได้ระบุการเทรดในแบบที่คุณคาดหวัง ผลกำไรที่คาดหมาย ผลขาดทุนที่ยอมรับได้ รวมถึงการจัดการความเสี่ยงที่ดี ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้การเทรดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นแบบแผนที่พัฒนาต่อยอดได้
3) มองหาโอกาสในการเทรด
หลังจากที่เปิดบัญชีและวางแผนการเทรดเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาที่จะเริ่มลงมือเทรด สำหรับ MiTrade คุณสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้มากกว่า 100 ชนิด ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ค่าเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ สกุลเงินดิจิทัล รวมถึงดัชนีตลาดสำคัญ ๆ บนโลก
ด้วยสินค้าที่มากมายเหล่านี้อาจทำให้นักเทรดลังเลว่าควรจะเลือกสินค้าตัวไหน ดังนั้นเราจึงมีวิธีการเลือกตลาดสำหรับการเทรดแบบง่าย ๆ มาฝากดังนั้น
- มองการเปลี่ยนแปลงของตลาดบนกราฟเรียลไทม์แบบคร่าว ๆ แล้วลองดูว่าการเคลื่อนไหวเหล่านั้นบ่งบอกอะไรได้บ้างโดยการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น กราฟเทคนิค
- ลองเปิดปฏิทินเศรษฐกิจ (economic calendar) และลองคาดการณ์ว่ากิจกรรมต่าง ๆ ในปฏิทินนั้นจะส่งผลอย่างไรในระดับมหภาคไปจนถึงจุลภาค และจะส่งผลต่อตลาดสินค้าต่าง ๆ อย่างไร
- การติดตามข่าวสาร ข่าวเฉพาะของสินค้าแต่ละชนิดล้วนมีผลต่อให้ราคาเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงบ้างไม่มากก็น้อย เช่น ข่าวการประกาศผลดำเนินงานของบริษัท ข่าวยการปรับลด/เพิ่มกำลังการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯ
- การติดตามกลยุทธ์การเทรด โบรกเกอร์ส่วนใหญ่จะมีการวิเคราะห์และวางกลยุทธ์การเทรดให้กับลูกค้าได้เป็นไอเดียในการเทรด ซึ่งแน่นอนว่านักเทรดสามารถดูเป็นแนวทางและนำมาประยุกต์ใช้กับการเทรดของตัวเองได้
- การติดตามดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม การเคลื่อนไหวของราคาสินค้าเกิดจากแรงซื้อและแรงขายของนักลงทุน และดัชนีความเชื่อมันสามารถสะท้อนทัศนคติ ความโลภ และความกลัวของนักลงทุนที่จะนำไปสู่การเคลื่อนไหวของราคาสินค้าต่าง ๆ ได้
- การคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ เช่นเดียวกับกลยุทธ์การเทรด การคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่นักเทรดสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับแผนการเทรดของตนเองได้เช่นเดียวกัน
และเมื่อเราเห็นโอกาสในตลาดสินค้าตัวใดแล้ว ก็แน่นอนว่าไม่สามารถปล่อยให้โอกาสนั้นหลุดลอยไปได้
4) เปิดสถานะ ติดตาม และปิดสถานะเพื่อทำกำไร
หลังจากเลือกตลาดที่สนใจเทรดได้แล้วก็ถึงเวลาที่จะต้องเปิดสถานะแรกกันแล้ว สิ่งแรกที่นักเทรดต้องตัดสินใจในการเปิดสถานะก็คือทิศทาง นักเทรดต้องเลือกระหว่างการเปิดสถานะ Long เพื่อหวังกำไรในทิศทางราคาขาขึ้น หรือ เปิดสถานะ Short เพื่อคาดหวังผลกำไรในแนวโน้มราคาขาลง
เมื่อเลือกสถานะได้แล้วก็จำเป็นต้องเลือกราคาที่จะทำการเปิดสัญญา ซึ่งราคาเปิดและปิดสัญญานี้จะมีผลต่อกำไรที่นักเทรดจะได้โดยตรง นักเทรดจึงอาจต้องใช้เครื่องมือเช่นกราฟเทคนิคเพื่อกะประมาณราคาที่จะเปิดสถานะรวมถึงตั้งราคาปิดสถานะตามแผนที่วางไว้ หลังจากนั้นก็เลือกขนาดสัญญาที่ต้องการเปิดแล้วส่งคำสั่งซื้อขายได้เลย
เวลาเปิดสถานะสิ่งหนึ่งที่นักเทรดจำเป็นต้องคำนึงถึงอยู่เสมอก็คือ การบริหารจัดการความเสี่ยง นั่นคือต้องไม่ลืมที่จะวางจุดปิดความเสี่ยง (Stop หรือ Limit)
กำไรและขาดทุนที่ได้จาก CFD นั้นมีไม่จำกัด ดังนั้นนักเทรดจำเป็นต้องวางจุดตัดขาดทุน (Stop loss) ที่จะช่วยหยุดผลขาดทุนไม่ให้ลุกลามด้วยการปิดสถานะทันทีเมื่อราคาสินค้าเคลื่อนไหวถึงจุดที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งนักเทรดสามารถเลือกฟังก์ชั่นนี้ได้ใน 3 รูปแบบ คือ
Stop loss: ตั้งจุดตัดขาดทุนและคำสั่งจะถูกปิดใกล้เคียงกับระดับราคาที่คุณเลือกมากที่สุด
Trailing Stop: เป็นจุดตัดขาดทุนที่จะเคลื่อนไหวตามราคาสินค้า เช่น หากกำหนด Trailing Stop คู่เงิน AUDUSD ไว้ที่ 20 pips จุดตัดขาดทุนรูปแบบนี้จะอยู่ห่างจากจุดที่ราคาเหวี่ยงตัวสูงที่สุด 20 pips เสมอ และหากราคามีความผันผวนมากเกินกว่า 20 pips สถานะนี้ก็จะถูกปิดไป
Limits: เป็นคำสั่งที่ใช้ในบริบทที่ต่างออกไป นั่นคือคำสั่งนี้จะกำหนดจุดปิดสถานะที่เฉพาะเจาะจงลงไปเลย และเมื่อราคาปรับตัวมาแตะจุดที่กำหนดเอาไว้ สถานะก็จะถูกปิดทันที คำสั่งนี้จึงทำให้เรารู้ได้แน่นอนว่าหากตลาดผันผวนและสถานะถูกปิดจะถูกปิดที่ราคาไหน ซึ่งแตกต่างจาก Trailing Stop ที่จุดปิดสถานะจะเคลื่อนไปเรื่อย ๆ
– ตัวอย่างการซื้อขาย CFD กับ MiTrade –
จนถึงตอนนี้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับ CFD อาจทำให้คุณสับสนอยู่บ้าง แต่ลองมาดูตัวอย่างการเทรดจะรู้ว่าการเทรด CFD จริง ๆ นั้นไม่ได้มีขั้นตอนที่ยากและซับซ้อนเลย
1) การซื้อหุ้น Adobe ด้วย CFD

ราคา ADBE ที่ซื้อขายอยู่ในตลาดปัจจุบันราคา $487.22 ดอลล่าร์และการประกาศผลการดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถทำกำไรได้ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และคุณคิดว่าปัจจัยนี้จะช่วยผลักดันราคา ADBE ให้ปรับตัวสูงขึ้นต่อไปได้ ดังนั้นคุณจึงเปิดสถานะ Long หุ้น ADBE CFD กับ MiTrade จำนวน 2 Lots ซึ่งมีมูลค่าเทียบเท่าการซื้อ ADBE ในตลาด 2 หุ้นที่มีมูลค่า $973.04 ดอลล่าร์
แต่เนื่องจากการเทรดด้วย CFD เป็นการเทรดบนอัตราทด (Leverage) ดังนั้นนักเทรดจึงไม่จำเป็นต้องวางเงินเต็มจำนวน และด้วยอัตราทด 1:20 อัตราส่วนมาร์จิ้น 5% นักเทรดก็สามารถวางเงินเพียง $48.65 ดอลล่าร์เพื่อเปิดสัญญาซื้อ ADBE ด้วย CFD
สูตรคำนวณมาร์จิ้น = ราคาสัญญา x ขนาดสัญญา x จำนวนสัญญา x อัตราส่วนมาร์จิ้น
= $487.22 x 1 x 2 x 5%
= $48.65
และหากคุณคาดการณ์ทิศทางราคาได้ถูกต้องและราคา ADBE ปรับตัวขึ้นไปจริง ๆ คุณสามารถปิดสถานะได้ที่ราคา $500 การคำนวณผลกำไรที่คุณจะได้รับจะเทียบเท่ากับการที่คุณซื้อหุ้น ADBE จำนวน 2 หุ้นจริง ๆ คูณด้วยผลต่างของราคาซื้อขาย นั่นคือ ( $520 – $487.22 ) *2 * 1 = $45.56 หรือคิดเป็น 94% ของเงินต้นที่วางไว้เพื่อเปิดสถานะนั่นเอง
2) การขายทองคำด้วย CFD

ราคาทองคำปัจจุบันซื้อขายอยู่ที่ราคา $1832.38 เมื่อคุณได้ยินข่าวความไม่สงบในตะวันออกกลางเริ่มคลี่คลายลงและคนเริ่มเทขายสินทรัพย์ปลอดภัย คุณมองว่าราคาทองคำจะถูกเทและปรับตัวลงได้จากนี้ คุณจึงเปิดสถานะขาย (Short) ทองคำ CFD กับ MiTrade จำนวน 0.01 Lots
แต่เนื่องจากการเทรดด้วย CFD เป็นการเทรดบนอัตราทด (Leverage) ดังนั้นนักเทรดจึงไม่จำเป็นต้องวางเงินเต็มจำนวน และด้วยอัตราทด 1:100 ของทองคำ คุณก็สามารถวางเงินเพียง $18.31 เพื่อเปิดสัญญาขายทองคำด้วย CFD ได้
สูตรคำนวณมาร์จิ้น = ราคาสัญญา x ขนาดสัญญา x จำนวนสัญญา x อัตราส่วนมาร์จิ้น
= $1832.38 x 100 x 0.01 x 1%
= $18.32
หากคุณคาดการณ์ทิศทางราคาได้ถูกต้องและราคาทองคำปรับลดลงไปจริง ๆ คุณสามารถปิดสถานะได้ที่ราคา $1820 การคำนวณผลกำไรที่คุณจะได้รับจะเทียบเท่ากับการที่คุณขายทองคำในตลาดฟิวเจอร์ส 10 ออนส์ คูณด้วยผลต่างของราคาซื้อขาย นั่นคือ ( $1832.38 – $1795.38 ) *0.01* 100 = $37 หรือคิดเป็นกว่า 100% ของเงินต้นที่วางไว้เพื่อเปิดสถานะนั่นเอง
หากใครสนใจเทรด CFD กับ Mitrade สามารถคลิกปุ่มด้านล่างเพื่อสร้างบัญชีและเริ่มต้นเทรดได้เลย หรือหากยังไม่มีประสบการณ์ในการเทรด CFD หรือยังไม่มีความมั่นใจก็สามารถเปิดบัญชี Demo ไว้ก่อนเพื่อนทดลองเทรดด้วยเงินเสมือนจริง $50, 000 ดอลล่าร์ที่ Mitrade จัดไว้ให้
ข้อมูลเหล่านี้เป็นเบื้องต้นสำหรับการทำความรู้จักว่า CFD คืออะไร แต่ก็ครบถ้วนด้วยเนื้อหา รายละเอียด และการนำไปใช้ ซึ่งแน่นอนว่าจะช่วยให้มือใหม่ได้มองเห็นภาพรวมและวิธีการเทรด CFD ได้รอบด้านมากขึ้น ทั้งยังช่วยให้นักเทรดที่ลงสนามมานานแล้วเข้าใจเครื่องมือตัวนี้ได้ดียิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เครื่องมือทางการเงินทุกชนิดมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เหมาะสำหรับใช้งานในบริบทที่ไม่เหมือนกัน นักเทรดจึงควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ ทดลองด้วยตัวเงินจำนวนน้อย ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการเริ่มต้นเทรด CFD ในระยะยาวต่อไป