สำหรับนักเทรดมืออาชีพมักทราบดีว่าการเทรดหุ้นให้ประสบความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งเครื่องมือ กลยุทธ์ การประเมินสถานการณ์ตลาด แต่ปัจจัยที่หลายคนมักมองข้ามไปก็คือค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นที่จะกลายมาเป็นต้นทุนสำคัญในการเทรด
เพราะการเทรดไม่เหมือนการซื้อแล้วถือ แต่การเทรดหมายถึงการซื้อขายซ้ำ ๆ ที่จะเกิดค่าธรรมเนียมเป็นจำนวนมากในแบบที่หากบริหารไม่ดีก็อาจทำให้กินทุนจนมีผลเทรดเป็นลบเลยก็เป็นได้ ดังนั้นคราวนี้เราจึงจะมาเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไรจากการเทรดให้เพื่อน ๆ ได้ดูเป็นแนวทางในการเลือกโบรกเกอร์กัน
ทำความรู้จักค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น
ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น เป็นเปอร์เซ็นต์เงินที่โบรกเกอร์เก็บจากลูกค้าเพื่อเป็นค่าดำเนินงานและค่าธุรกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับตลาดหลักทรัพย์ อย่างที่เราเคยคุ้นกันว่าเทรดล้านละสองพันเจ็ดหรือล้านละสองพันสอง ค่าธรรมเนียมเหล่านี้คิดยังไง เรามาดูกันเลย
- ค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET Trading Fee) 0.005%
- ค่าธรรมเนียมการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (TSD Clearing Fee) 0.001%
- และค่าธรรมเนียมการกำกับดูแล (Regulatory Fee) 0.001%
- ค่าคอมมิชชั่นจากโบรกเกอร์ (Commistion Fee) ส่วนนี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละโบรกเกอร์กำหนด และเป็นส่วนที่ทำให้ค่าคอมฯ ของแต่ละโบรกเกอร์ถูกแพงต่างกันออกไปด้วย
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% คิดทบจากค่าคอมมิชชั่นรวมค่าธรรมเนียมทั้งหมด
ดังนั้นการที่โบรกเกอร์ไหนจะบอกว่าตัวเองมีค่าคอมมิชชั่นถูกแพงจากโบรกเกอร์อื่น เราต้องพิจารณาบนมาตรฐานเดียวกัน เช่น ค่าธรรมเนียมนั้นคิดรวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือยัง หรือคิดรวมค่าธรรมเนียมหลักทรัพย์, ค่าธรรมเนียมการชำระราคาฯ, ค่าธรรมเนียมกำกับดูแลแล้วหรือยัง ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากเงื่อนไขห้อยท้ายประกาศค่าธรรมเนียมของแต่ละโบรกเกอร์นั่นเอง
ตัวอย่างเช่น
โบรกเกอร์หนึ่งคิดค่าคอมมิชชั่น 0.25% ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เราสามารถคำนวณค่าคอมมิชชั่นรวมได้โดย นำ 0.25% + 0.007% = 0.257% ที่เป็น ค่าคอมฯ ทั้งหมด
จากนั้นนำมูลค่านี้คูณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่ายทบเป็นสัดส่วนอีก 7% ก็คือ 0.257% x 107% จะได้อัตรา ค่าคอมมิชชั่นรวมภาษี ที่นักเทรดต้องจ่ายจริง ๆ คือ 0.275%
ซึ่งนั่นหมายความว่าการซื้อขายด้วยวงเงิน 1,000,000 บาทต่อวัน นักเทรดจะต้องเสียต้นทุนค่าธรรมเนียมส่วนนี้ถึง 2,750 บาททีเดียว
เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น โบรกไหนให้ค่าคอมเรทดี
ธุรกิจหลักทรัพย์ไทยเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการแข่งขันรุนแรง ทำให้แต่ละบริษัทหลักทรัพย์ก็มีกลยุทธ์การคิดราคาค่าคอมมิชชั่นแตกต่างกันไป และเหล่านี้คือโบรกเกอร์ที่มีโครงสร้างค่าคอมมิชชั่นน่าสนใจสำหรับนักเทรด
1. Kasikorn Securities
หลักทรัพย์กสิกรเป็นโบรกเกอร์ที่มีการคิดค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นมาตรฐาน คือ คิดขั้นต้น 0.25% สำหรับการส่งคำสั่งผ่านมาร์เก็ตติ้งในทุกรูปแบบบัญชีที่ใช้, คิด 0.20% สำหรับการส่งคำสั่งผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับบัญชีวงเงิน (Cash Balance) และ 0.15% สำหรับการส่งคำสั่งผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับบัญชีวางเงินเต็มจำนวน (Cash Accoun) และบัญชีเงินกู้ (Margin Credit Balance) โดยมีขั้นต่ำที่ 50 บาท (ไม่รวม VAT.) สำหรับการซื้อขายทุกประเภทบัญชี
ซึ่งเรทนี้เป็นเรทมาตรฐานที่โบรเกอร์ไทยส่วนใหญ่เลือกใช้ แต่จะเพิ่มความได้เปรียบให้กับลูกค้าด้วยบทวิเคราะห์และบริการอื่น ๆ ที่หลักทรัพย์เสนอให้
2. Bualuang Securities
หลักทรัพย์บัวหลวงเป็นบริษัทหลักทรัพย์เก่าแก่แห่งหนึ่งของไทย ซึ่งก็ยังมีการใช้ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นแบบมาตรฐานเช่นเดียวกับหลักทรัพย์กสิกรและบริษัทหลักทรัพย์อื่น ๆ แต่จะเพิ่มความคล่องตัวให้กับลูกค้ามากขึ้นด้วยการลดข้อจำกัดเรื่องค่าคอมมิชชั่นขั้นต่ำต่อวันลง โดยที่ไม่ได้จำกัดไว้ที่ 50 บาทเช่นที่กสิกรกำหนดไว้
บัวหลวงไม่มีค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นขั้นต่ำสำหรับการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตในทุกประเภทบัญชี แต่ยังคงค่าธรรมเนียมซื้อขายขั้นต่ำสำหรับการส่งคำสั่งผ่านมาร์เก็ตติ้ง ซึ่งมีการคิดขั้นต่ำมากกว่ามาตรฐานคือ 100 บาทต่อวัน
ด้วยเรทค่าธรรมเนียมซื้อขายแบบนี้ทำให้หลักทรัพย์บัวหลวงค่อนข้างเอื้อให้กับลูกค้าที่ส่งคำสั่งผ่านอินเตอร์เน็ตที่มีปริมาณการซื้อขายต่อวันไม่มากนัก
3. Phillip Securities
สำหรับโบรกฟิลลิปส์เป็นโบรกที่มีบริษัทแม่อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีการคิดค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นแบบมาตรฐานเช่นเดียวกับสองโบรกเกอร์ข้างต้น แต่ยิ่งผ่อนคลายเกณฑ์การซื้อขายขั้นต่ำด้วยการไม่คิดค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นขั้นต่ำเลยไม่ว่ากับช่องทางการซื้อขายแบบไหน หรือการใช้บัญชีประเภทใด
ซึ่งหากมองในแง่นี้ การใช้บริการฟิลิปส์ก็ค่อนข้างเอื้อให้กับการซื้อขายของลูกค้ารายย่อยที่มีปริมาณซื้อขายต่อวันไม่มากนัก โดยที่โบรกเกอร์ยังคงมีความน่าเชื่อถือสูงและเป็นที่รู้จักของนักลงทุน
4. SBITO Securities
สะไบโตะ เป็นโบรกเกอร์น้องใหม่จากญี่ปุ่นที่ค่อนข้างมีความน่าเชื่อถือและมุ่งเป้ากดค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นเพื่อดึงดูดลูกค้าสายเทรดผ่านอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะ ด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการเทรดผ่านอินเตอร์เน็ตที่ลดต่ำกว่าเรทมาตรฐานกว่าครึ่งด้วยเรทขั้นต้น 0.1% มีขั้นต่ำต่อวันที่ 50 บาทสำหรับบัญชี Cash Account, และ 0.075% สำหรับบัญชี Cash Balance/ Margin Credit Balance โดยที่ไม่มีขั้นต่ำต่อวัน แต่สำหรับการเทรดผ่านมาร์เก็ตติ้งยังใช้เรทมาตรฐานด้วยขั้นต่ำ 50 บาทไม่ต่างจากโบรกเกอร์อื่น
จากเรทราคานี้ทำให้โบรกสะไบโตะเป็นโบรกที่น่าสนใจสำหรับสายเทรดผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยตัวเอง ซึ่งหากนักเทรดมีประสบการณ์ในการเทรดอยู่แล้วโบรกนี้ก็นับเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในแง่ค่าธรรมเนียมการซื้อขายต่ำทีเดียว
5. z.com Securites
โบรกเกอร์นี้นักลงทุนหลายท่านอาจไม่รู้จักเนื่องจากเป็นโบรกเกอร์น้องใหม่สัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งเน้นการคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายต่ำสำหรับนักเทรดออนไลน์ แต่คิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายสูงกว่ามาตรฐานสำหรับการซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่
โดย z.com ให้บริการด้วยเรทขั้นต้น 0.065% สำหรับบัญชี Cash Balance และบัญชีเงินกู้ (Margin Credit Balance) สำหรับการซื้อขายด้วยตัวเองผ่านอินเตอร์เน็ต และเรท 0.3% สำหรับการซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่โดยไม่มีขั้นต่ำในการซื้อขายต่อวัน ซึ่งแน่นอนว่าเรทการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตนี้นับว่าน่าจะถูกที่สุดในตลาดตอนนี้ แต่ก็ต้องแลกมากับบริการอื่น ๆ ที่อาจไม่ครอบคลุมนัก
สรุปเรทค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นของโบรกเกอร์ต่าง ๆ สำหรับมูลค่าการซื้อขายหุ้นต่ำกว่า 5 ล้านบาทต่อวันได้ตามตาราง

* ค่าคอมฯ ขั้นต่ำต่อวันของบัวหลวงบัญชี Cash Balance ไม่มีขั้นต่ำสำหรับการเทรดผ่านอินเตอร์เน็ตและรับใบคอนเฟิร์มผ่าน E-Confirm และคิดขั้นต่ำ 100 บาทต่อวันหากรับเอกสารทางไปรษณีย์หรือห้องค้า.
ทั้งนี้โบรกเกอร์ส่วนใหญ่มีอัตราค่าธรรมเนียมขั้นบันไดที่เมื่อมีปริมาณการซื้อขายมากขึ้นจะมีค่าธรรมเนียมลดลง เช่น อัตราค่าธรรมเนียมแบบขั้นบันไดของหลักทรัพย์กสิกรไทยดังตารางด้านล่าง หากนักเทรดมีมูลค่าการซื้อขายต่อวันที่ 9 ล้านบาท 5 ล้านบาทแรกจะคิดเรท X <= 5 ล้าน, และอีก 4 ล้านถัดไปจะคิดเรท 5 ล้าน < X <= 10 ล้าน

** ค่าธรรมเนียมซื้อขายนี้รวมค่าธรรมเนียมหลักทรัพย์ 0.005%, ค่าธรรมเนียมการชำระราคาฯ 0.001%, ค่าธรรมเนียมกำกับดูแล 0.001%, ไม่รวม VAT 7%
การทำกำไรจากการเทรดหุ้น CFD ที่มีค่าคอมมิชชั่น 0 สเปรดต่ำ
CFD(Contract for Difference) หรือ สัญญาซื้อขายส่วนต่าง เป็นเครื่องมืออนุพันธ์ชนิดหนึ่งที่อ้างอิงกับราคาสินค้าหลากหลายรวมถึงราคาหุ้นด้วย ซึ่งนั่นหมายถึงนักเทรดไม่ได้กำลังซื้อขายหุ้นจริง ๆ และไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้น แต่ก็ยังสามารถทำกำไรบนราคาหุ้นได้ด้วย
การเทรด CFD เป็นการเทรดบนอัตราทด ที่นักเทรดสามารถวางเงินเพียงบางส่วน แต่อาศัย leverage ช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไร ช่วยให้ทำกำไรได้ทั้งจากส่วนต่างราคาขาขึ้นและขาลง
ต้นทุนการเทรด CFD นั้น โบรกเกอร์ CFD ส่วนใหญ่จะไม่คิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้น ไม่มีค่าธรรมเนียมหลักทรัพย์, ค่าธรรมเนียมการชำระราคาฯ, ค่าธรรมเนียมกำกับดูแล, และภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จะคิดค่าดำเนินงานจากค่าสเปรดและสวอปแทน
ซึ่งสเปรดก็คือส่วนต่างราคา Bid/Ask ยิ่งสเปรดต่ำมากเท่าไหร่จะยิ่งทำให้นักเทรดซื้อขายได้ในราคาดี และการคิดสเปรดสำหรับการเทรด CFD นั้นมักมีสเปรดต่ำ ส่วนสวอป หรือ อัตราดอกเบี้ยข้ามคืน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าสัญญา โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ระหว่าง 0.02%-0.05% ซึ่งหากนักเทรดไม่ต้องการถือสัญญาข้ามวันก็ไม่จำเป็นต้องเสียต้นทุนส่วนนี้
- ตัวอย่างในการเทรดหุ้น CFD
สมมุติว่าปัจจุบันนี้ ราคาหุ้น Facebook อยู่ที่ $270 USD สเปรดคือ 0.6 pip เลเวอเรจ 1:5 ปริมาณซื้อขายขั้นต่ำ 3 ล็อต สวอปซื้อ 0.026% สวอปขาย 0.028%
● หากคุณคิดว่าราคาหุ้น Facebook จะมีแนวโน้มสูงขึ้นถึง $300 USD คุณก็เปิดคำสั่งซื้อ (Buy Long) ที่ซื้อหุ้น Facebook 3 ล็อต ด้วยเงินฝาก $162 USD(=$270/5*3 lot) เมื่อราคาหุ้น Facebook เพิ่มขึ้นไปถึงราคา $300 USD ตามที่คุณคาดไว้ คุณปิดคำสั่งแล้วได้กำไร $90[=($300-270)*3] อัตราผลตอบแทนคือ 56%(=$90/$162)
● หากคุณคิดว่าราคาหุ้น Facebook จะมีแนวโน้มลดลงถึง $240 USD คุณเปิดคำสั่งขาย(Short Selling) ขายหุ้น Facebook 3 ล็อต ด้วยเงินฝาก $162 USD(=$270/5*3 lot) โดยขณะที่ราคาหุ้น Facebook ลดลงถึงราคา $240 USD ตามที่คุณคาดไว้ คุณก็ปิดคำสั่งรับกำไร $90[=(270-240)*3] อัตราผลตอบแทนคือ 56%(=$90/$162)
● ส่วนต้นทุนในการหุ้น Facebook ครั้งนี้รวมถึง สเปรดคือ $1.8 USD(=0.6 pip*3 lot) แต่หากคุณต้องถือคำสั่งข้ามคืน ยังต้องจ่ายค่าธรรมเรียมคำสั่งซื้อ $0.13 USD[=($162.56*0.026%)*3 lot]ต่อ 1 คืน หรือ ค่าธรรมเรียมคำสั่งขาย $0.14 USD[=($162.20*0.028%)*3 lot]ต่อ 1 คืน
โบรกเกอร์ CFD ที่น่าสนใจและให้สเปรดต่ำนั้นมีตัวอย่างเช่น
MiTrade

MiTrade เป็นโบรกเกอร์สัญชาติออสเตรเลียที่ได้รับความนิยมจากลูกค้ากว่า 270,000 คนทั่วโลก อยู่ภายใต้การกำกับดูแลจาก ASIC ให้บริการซื้อขาย CFD ที่อ้างอิงอยู่บนสินค้าหลากหลาย รวมถึงหุ้นหลักในตลาดหุ้นอเมริกากว่า 35 ตัว
สำหรับการเทรดหุ้นกับ MiTrade มีสเปรดเริ่มจาก 0.06 pip เลเวอเรจสูงถึง 1:20 ปริมาณซื้อขายขั้นต่ำ 1 ล็อต มีขั้นตอนการเปิดบัญชีสะดวกและรวดเร็ว เปิดบัญชีได้ภายใน 10 นาที ด้วยเงื่อนไขเงินฝากขั้นต่ำเพียง $50 MiTrade ยังมาพร้อมกับเครื่องมือเทรดต่าง ๆ ให้ใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น กราฟราคา ปฏิทินทางเศรษฐกิจ และข่าวสารแบบเรียลไทม์ ทั้งยังมีเครื่องมือจัดการความเสี่ยง เช่น ระบบป้องกันยอดคงเหลือติดลบ คำสั่ง Stop Loss/ Trailing Stop ทั้งยังมีช่องทางฝากเงินหลากหลาย ส่งคำสั่งฝากถอนได้อย่างทันท่วงที และมีฝ่ายบริการลูกค้าคอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมงใน 5 วันทำการอีกด้วย
FXTM

เป็นอีกหนึ่งโบรกเกอร์ที่ได้รับความนิยมจากนักเทรดทั่วโลก อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ CySec, FCA and FSC of the Republic of Mauritius และให้บริการซื้อขาย CFD ที่อ้างอิงราคาสินค้ามากมาย
FXTM ให้บริการเทรด CFD อ้างอิงราคาหุ้นโดยไม่มีค่าธรรมเนียม คิดสเปรดแบบแปรผันเฉลี่ย 0.1% โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมหรือภาษีอื่นเพิ่มเติม เมื่อเทียบต้นทุนนี้กับความสามารถในการทำกำไรด้วยอัตราทด สัดส่วนของต้นทุนการซื้อขาย CFD นี้ก็จะลดลงไปอีกเมื่อเทียบกับความสามารถในการทำกำไร
Pepperstone

อีกหนึ่งโบรกเกอร์สัญชาติออสเตรเลียที่ได้รับการกำกับดูแลจาก FCA, ASIC, SCB, DFSA, CMA, BaFin และเช่นเดียวกับโบรก CFD ส่วนใหญ่ Pepperstone ให้บริการโดยไม่มีค่าคอมมิชชั่น คิดสเปรดแบบแปรผัน ซึ่งมีสเปรดสำหรับการเทรดหุ้นเฉลี่ย 1-1.6 pips ซึ่งเป็นเปอร์เซนต์ที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับความสามารถในการทำกำไร
IC Markets

IC Markets เป็นอีกหนึ่งโบรกเกอร์ CFD ที่ได้รับความนิยม โดยโบรกเกอร์นี้ได้รับการกำกับดูแลจาก ASIC, CySec, FSA ให้บริการซื้อขายสินค้าหลากหลาย และสำหรับการเทรด CFD ในหุ้นนั้นมีการคิดสเปรดแบบแปรผัน เฉลี่ย 2 pips ซึ่งแม้จะดูสูงกว่าโบรกอื่น ๆ ข้างต้น แต่ก็ยังนับว่าเป็นเรทที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับเปอร์เซนต์และความสามารถในการทำกำไรของเครื่องมืออย่าง CFD
XM

เป็นเว็บเทรด CFD อีกหนึ่งเจ้าที่ได้รับความนิยม XM ได้รับการกำกับดูแลจาก IFSC, CySec, ASIC มีแพลตฟอร์มการเทรดและผลิตภัณฑ์ให้เลือกเทรดหลากหลาย และสำหรับหุ้น XM ไม่คิดค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้น แต่จะมีค่าสเปรดที่คิดแบบแปรผันเฉลี่ย 1% ซึ่งนับเป็นเรทที่หลาย ๆ โบรก CFD หลาย ๆ เจ้าเสนอ แต่เมื่อมองว่าเป็นเรทสุดท้ายที่ไม่ต้องรวมค่าธรรมเนียมและภาษีอื่น ๆ จึงนับว่าค่อนข้างเป็นต้นทุนที่ต่ำเมื่อเทียบกับเรทการซื้อขายหุ้นทั่วไปอยู่ดี
จากข้อมูลเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นที่เราได้เสนอไปทั้งหมดจะพบว่าการซื้อขายหุ้นในตลาดนั้นมีค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับผลกำไรที่คาดว่าจะได้รับ (เฉลี่ยไม่เกิน 10%) ในการเทรดระยะสั้นและกลาง แต่จะมีค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียไปแล้วเกือบ 0.5 เปอร์เซนต์ (คิดทั้งขาซื้อและขาขายสั่งผ่านเจ้าหน้าที่) ทำให้ผลกำไรที่คาดว่าจะได้ถูกบั่นทอนลง หรือผลขาดทุนที่คิดว่าพอรับได้ก็จะยิ่งบานปลายไปอีก
การเทรดหุ้นด้วย CFD จึงกลายมาเป็นทางเลือกหนึ่งในการซื้อขายหุ้นของนักลงทุนทั่วโลกที่มีต้นทุนการซื้อขายต่ำ มีสภาพคล่องสูง และมีความได้เปรียบจากการใช้อัตราทด โดยที่ไม่มีค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น สเปรดราคาต่ำ ซึ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการเทรดหุ้นได้มากกว่าการซื้อขายหุ้นแบบดั้งเดิม จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไม CFD จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่นักเทรดทั่วโลกนิยมใช้มากไปกว่าการซื้อขายหุ้นในตลาดทั่วไป