RSI คืออะไร วิธีทำกำไรจาก Forex ด้วยกลยุทธ์ RSI

ในตลาด Forex ที่มีความผันผวนสูง การทำความเข้าใจว่า RSI คืออะไร จะช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์ตลาดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของราคาที่มีความซับซ้อน ทำให้การหาจุดเข้าออเดอร์นั้นช่างยากลำบาก แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ง่ายๆ เพียงแค่คุณพึ่งพาอินดิเคเตอร์สุดคลาสสิกที่มีชื่อว่า RSI

สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ที่กำลังมองหาอินดิเคเตอร์สักชิ้น RSI ถือเป็นตัวเลือกที่ค่อนข้างตอบโจทย์เลยทีเดียว เพราะมีรูปแบบการใช้งานที่ง่ายอีกทั้งยังมีองค์ประกอบที่ไม่ซับซ้อน ซึ่งเหมาะมากสำหรับเทรดเดอร์สาย Momentum ที่ไม่ต้องการใช้อิดิเคเตอร์หลายตัวให้ปวดหัว ดังนั้นโปรดติดตามวิธีการใช้งานและปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับ RSI 

RSI คืออะไร?

RSI คืออะไร ก่อนที่เราจะไปเจาะลึกเรื่องนี้ เราขออธิบายรายละเอียดคร่าวๆ และที่มาของเครื่องมือชิ้นนี้เสียก่อน RSI มีชื่อเต็มๆว่า Relative Strength Index คือ ดัชนีความแกร่งสัมพันธ์ ที่มีไว้เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ราคาปัจจุบันว่าขณะนี้ราคากำลังอยู่ในสภาวะใด ระหว่างช่วงขายมากเกินไป (Oversold) และช่วงซื้อมากเกินไป (Overbought) แนวคิดนี้ถูกคิดค้นโดย เจ. เวลส์ ไวล์เดอร์ (J. Welles Wilde) ซึ่งเป็นบิดาแห่งการคิดค้นศาสตร์แห่งเทคนิคอลชื่อดังต่างๆ เช่น ATR, RSI, Parabolic Sar เป็นต้น 

จากที่กล่าวมานี้ทุกท่านอาจจะพอทราบแล้วว่า RSI มีรูปแบบการทำงานในลักษณะใด แต่ในบางจุดที่เราพูดถึง Overbought และ Oversold อาจจะทำให้หลายๆ ท่านเกิดความสับสนเล็กน้อย แต่ไม่จำเป็นต้องกังวลไปเพราะในส่วนถัดไปเราจะมาอธิบายแบบเจาะลึกกันทีละขั้นตอน  แต่ก่อนอื่นสิ่งที่เราอยากให้ทุกท่านทำความเข้าใจก็คือส่วนประกอบกอบของ RSI

Relative Strength Index (RSI) เป็นเครื่องมือที่มีค่าอยู่ในช่วง 0 – 100 ซึ่งจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักคือ

  1. ช่วง 0 – 30 
  2. ช่วง 50
  3. ช่วง 70 – 100

ในแต่ละช่วงของค่า 30, 50, 100 ใน RSI สามารถนำมาวิเคราะห์ในการเข้าเทรดได้ ซึ่งเราจะอธิบายให้ทุกท่านเข้าใจถึงความหมายของแต่ละช่วงดังนี้

  • ช่วง 0 – 30 เป็นดัชนีที่แสดงให้เห็นถึงสภาวะขายมากเกินไป (Oversold) 
  • ช่วง 50 เป็นดัชนีที่แสดงให้เห็นถึงสภาวะปกติ ราคาวิ่งไปด้านข้างในบางครั้งอาจเรียกว่า 

(Side Way)

  • ช่วง 70 – 100 เป็นดัชนีที่แสดงให้เห็นถึงสภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) 

ถ้าหากคุณได้อ่านมาถึงตรงนี้แล้วนั่นหมายความว่าคุณเข้าใจรายละเอียดคร่าวๆ ของเครื่องมือ RSI แล้วว่ามีที่มาและลักษณะการทำงานอย่างไร ซึ่งรวมไปถึงองค์ประกอบสำคัญต่างๆข้างต้น แต่ทว่าความรู้ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ยังไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์ เพราะคุณต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า Oversold และ Overbought มีผลต่อการเคลื่อนที่ราคาอย่างไร ซึ่งเราจะมาอธิบายแบบเจาะลึกกันในหัวข้อต่อจากนี้

ช่วงขายมากเกินไป (Oversold) คืออะไร?

จากที่ได้ทำความเข้าใจว่า RSI คืออะไร มีส่วนหนึ่งที่เราพูดถึงช่วงขายมากเกินไป (Oversold) สภาวะดังกล่าวจะอยู่ในช่วง 0 -30 ของ RSI ซึ่งเป็นสภาวะที่บ่งบอกว่าตอนนี้ตลาดได้มีการขายมากเกินไปแล้ว และนักลงทุนควรจะออกจะการขายและเตรียมตัวหาจังหวะซื้อ หากลองพิจารณาจากประโยคดังกล่าวสามารถอธิบายได้ว่า การที่สินทรัพย์บางประเภทถูกเทขายเป็นจำนวนมากย่อมส่งผลให้ราคามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้คนจะแห่ทำการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่มีราคาถูก และส่งผลให้ราคาสินทรัพย์สูงขึ้น 

ช่วงซื้อมากเกิน (Overbought) คืออะไร?

จากประโยคก่อนหน้านี้เราได้อธิบายว่า RSI คืออะไร และเราได้มีการพูดถึง ช่วงซื้อมากเกินไป (Overbought) สภาวะดังกล่าวจะอยู่ในช่วง 70 – 100 ของ RSI ซึ่งเป็นสภาวะที่บ่งบอกว่าตอนนี้ตลาดได้มีการซื้อมากเกินไปแล้ว และนักลงทุกควรจะออกจากการซื้อและเตรียมตัวสู่การขายได้แล้ว หากพิจารณาจากประโยคดังกล่าวจะสามารถอธิบายได้ว่า การที่สินทรัพย์มีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องย่อมมีแนวโน้มที่ราคาจะปรับตัวต่ำลง เนื่องจากนักลงทุนจะแห่เทขายสินทรัพย์ที่มีราคาสูงและส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ต่ำลงนั่นเอง และนี่เป็นที่มาว่าทำไมนักลงทุนควรเตรียมตัวขายสินทรัพย์ เมื่อระดับราคาอยู่ในสภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought)

การคำนวณของ RSI

การศึกษาวิธีการคำนวณของ RSI จะทำให้คุณมีความเข้าใจมากขึ้นว่า RSI คืออะไร จริงๆแล้ววิธีการคำนวณของ RSI นั้นมีความเรียบง่ายกว่าที่คิด เพราะการคำนวณของ RSI เป็นเพียงการคำนวณเพื่อเปรียบเทียบระหว่างโมเมนตัมการซื้อและโมเมนตัมการขาย ดังนั้นเรามาดูสมการคำนวณไปพร้อมกันเพื่อทำความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น

RSI = 100-1001+AVGAVL

Average gain (AVG) คือ ค่าเฉลี่ยของราคาปิดที่เป็นบวกย้อนหลัง 14 แท่งเทียน

Average loss (AVL) คือ ค่าเฉลี่ยของราคาปิดที่เป็นลบย้อนหลัง 14 แท่งเทียน

หลักจากที่เรานำราคาปิดของ 14 แท่งเทียนย้อนหลังทั้งที่เป็นบวกกับลบมาแทนค่าในสมการและทำการคำนวณ เพียงเท่านี้เราก็จะได้ค่าเฉลี่ย RSI ที่สามารถบ่งบอกได้ว่า ณ ปัจจุบันราคากำลังอยู่ในสภาวะใด ระหว่างขายมากเกินไป (Oversold) หรือซื้อมากเกินไป (Overbought) 

**หมายเหตุ เนื่องจากค่าพารามิเตอร์พื้นฐานจะนิยมใช้ RSI 14 เป็นหลัก การคำนวณราคาของ RSI จึงเป็นการคิดราคาปิดย้อนหลัง 14 แท่งเทียนนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามนักลงทุนสามารถปรับค่าพารามิเตอร์ RSI ได้ตามความถนัด

วิธีการใช้ RSI

หลักจากที่ศึกษารายละเอียดจนครบถ้วนแล้วว่า RSI คืออะไร ในส่วนต่อไปก็ถึงเวลาลงสนามจริง ก่อนอื่นเราขอบอกก่อนว่า RSI นั้นเป็นอินดิเคเตอร์ที่มีลักษณะการใช้งานที่ค่อนข้างยืดหยุ่น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้งานเพื่อหาจุดเข้าออเดอร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ RSI เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าเทรดในบางสถานการณ์ได้เช่นกัน

ขั้นตอนการใช้งาน

  1. ขั้นตอนแรกให้คุณเลือกคู่เงินที่ต้องการเทรด (ต้องวิ่งเป็นเทรนด์)
  2. สังเกตว่าปัจจุบัน RSI มีแนวโน้มที่จะไปทิศทางใด
  3. หลังจากที่ RSI เข้าสู่ตำแหน่งนัยสำคัญ (OVS & OVB) ให้เตรียมวางแผนเข้าออเดอร์
  4. หากราคาเข้าสู่ตำแหน่ง Oversold ให้เตรียมตัวซื้อ
  5. หากราคาเข้าสู่ตำแหน่ง Overbought ให้เตรียมตัวขาย

ตัวอย่างการใช้งาน

  1. เราได้ทำการทดสอบเลือกคู่เงินมาหนึ่งคู่ที่วิ่งเป็นเทรนด์

(จากภาพราคาวิ่งเป็นเทรนด์ขาลง)

  1. สังเกตเส้น RSI ว่ามีสัญญาณเกิดขึ้นหรือไม่

(จากภาพเกิดสัญญาน OVB )

  1. ราคาเข้าสู่ช่วง 70 – 100 เป็นสัญญาณการเกิด Overbought  เทรดเดอร์สามารถสันนิษฐานได้ว่า ในอนาคตข้างหน้าราคามีแน้วโน้มลดระดับต่ำลง
  2. จากภาพประกอบหลังจากเกิดสัญญาณ Overbought ราคาได้ปรับระดับต่ำลงจริงๆ 

ข้อควรระวัง

ถึงแม้คุณจะรู้อย่างถ่องแท้ว่า RSI คืออะไร มีการคำนวณอย่างไร หรือมีวิธีการใช้งานอย่างไรมันก็ไม่สำคัญ ถ้าหากคุณพลาดท่าใช้ RSI ผิดวิธี เพราะนั่นหมายถึงการเข้าเทรดโดยมีสัญญาณหลอกเป็นตัวชี้นำคุณสู่ประตูแห่งการขาดทุน ดังนั้นโปรดติดตามข้อควรระวังเหล่านี้เพื่อลดความเสี่ยงในการเข้าเทรดของคุณ

  • RSI ไม่ควรใช้ในกรอบเวลา (Timeframe) ที่เล็กจนเกินไป ซึ่งกรอบเวลาที่ควรเลือกใช้คือกรอบเวลาแบบรายชั่วโมงหรือแบบรายวัน เป็นต้น
  • RSI จะใช้ได้มีระสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อราคาวิ่งเป็นเทรนด์ 
  • การใช้สัญญาณ RSI ควรใช้ให้สอดคล้องกับเทรนด์ปัจจุบัน เช่น ถ้าหากราคาเป็นเทรนด์ขาขึ้นคุณควรโฟกัสสัญญาณ Oversold เป็นหลักเพื่อหาจังหวะซื้อ ในทำนองเดียวกันถ้าหากราคาเป็นเทรนด์ขาลงคุณควรโฟกัสสัญญาณ Overbought เป็นหลักเพื่อหาจังหวะขาย
  • การตั้ง Stop Loss ทุกครั้งก่อนเข้าเทรดเป็นสิ่งสำคัญ

ทำความรู้จักกับสัญญาณ RSI Divergence

ทุกสิ่งที่เราสอนคุณมาทั้งหมดว่า RSI คืออะไร จะทำให้คุณสามารถดูสัญญาณ Overbought และ Oversold ในการเข้าเทรดได้อย่างง่ายดาย แต่ทว่าการใช้งาน RSI แบบปกติอาจไม่เพียงพอต่อการเข้าเทรด เนื่องจากบางครั้งสัญญาณอาจเกิดช้าและทำให้คุณพลาดโอกาสเข้าเทรด ดังนั้นเราขอแนะนำกลยุทธ์การเข้าเทรดแบบ Divergence เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าเทรดของคุณ 

RSI Divergence คือ สถาณการณ์ที่ราคากับอินดิเคเตอร์ RSI ไม่สัมพันธ์กันหรือวิ่งไปคนละทิศทางกัน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากความผันผวนที่รุนแรงของราคา ซึ่งเราสามารถใช้โอกาศนี้ในการหาสัญญาณกลับตัวได้

Bullish Divergence

ถ้าหากราคาวิ่งลดระดับต่ำลงแต่ RSI กลับวิ่งไต่ระดับสูงขึ้น นั่นหมายความว่ามีการเกิดสัญญาณ  Bullish Divergence และมีแนวโน้มที่ราคาจะกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้น

Bearish Divergence

ถ้าหากราคาวิ่งไต่ระดับสูงขึ้นแต่ RSI กลับวิ่งไต่ระดับต่ำลง นั่นหมายความว่ามีการเกิดสัญญาณ Bearish Divergence และมีแนวโน้มที่ราคาจะกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลง

บทสรุป

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นว่า RSI คืออะไร ไม่มากก็น้อยหลังจากที่อ่านบทความนี้จนจบ เพราะนอกจากนี้ทุกท่านสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา RSI ไปใช้ควบคู่กับกลยุทธ์อื่นๆ เพื่อเพิ่มความแม่นยำให้กับการเข้าออเดอร์ได้อย่างน่าเหลือเชื่อ ซึ่งเราเชื่อว่าถ้าหากคุณได้พยายามฝึกฝนการใช้ RSI จนชำนาญ การเข้าเทรดในตลาด Forex ที่มีความผันผวนก็ไม่ใช่สิ่งน่ากลัวอีกต่อไป