หลายครั้งที่การทำ IPO หุ้นตัวหนึ่ง ๆ จะทำให้หุ้นตัวนั้นกลายมาเป็นกระแสและเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น เพราะนักลงทุนหน้าเก่าผู้คร่ำหวอดอยู่แล้วก็มักจะหาทางไขว่คว้าหุ้น IPO มาเก็บไว้ในพอร์ต ในอีกทางหนึ่งก็เป็นการเชื้อเชิญนักลงทุนหน้าใหม่ที่ใฝ่ฝันจะเป็นเจ้าของหุ้นให้เข้าสู่ตลาด จนเกิดเป็นกระแสการพูดคุยถึงไม่รู้จบ
แต่สงสัยกันหรือไม่ว่าทำไมบริษัทดี ๆ ที่เราหมายตาอยู่ถึงไม่ทำหุ้น IPO เสียที? ตกลงแล้วหุ้น IPO คืออะไรกันแน่? เราควรจะเป็นเจ้าของหุ้น IPO กับเขาบ้างหรือไม่? และหากใช่ เราจะจองหุ้น IPO ยังไง? สำหรับคำถามเหล่านี้เรามีคำตอบรอไว้ให้แล้ว
หุ้น IPO คืออะไร?
IPO ย่อมาจากคำว่า Initial Public Offering ที่หมายถึงการนำบริษัทเอกชนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และนำหุ้นออกเสนอขายกับประชาชนเป็นครั้งแรก ซึ่งคำนี้เราจะได้พบกับการเสนอขายกองทุนเป็นครั้งแรกเหมือนกัน หรือหากเป็นการเสนอขายเหรียญคริปโตเป็นครั้งแรกเราก็จะเรียกกันว่า ICO หรือ Initial Coin Offering
ในกระบวนการ IPO นี้จะเป็นการเปลี่ยนบริษัทเอกชนให้กลายเป็นบริษัทมหาชนที่กระจายส่วนของผู้ถือหุ้นให้ประชาชนทั่วไป ซึ่งในทางหนึ่งก็เป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยได้มีส่วนในการเป็นเจ้าของบริษัท ดังนั้นเมื่อบริษัทเข้าทำหุ้น IPO แล้ว เจ้าของบริษัทกลุ่มเดิมก็จะไม่ได้มีสิทธิขาดในการบริหารบริษัท 100% เหมือนเมื่อก่อนอีก
ทำไมบริษัทถึงทำหุ้น IPO?
เหตุผลหลัก ๆ ของการทำหุ้น IPO คือกระบวนการนี้เป็นการระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อย ทำให้บริษัทได้รับเงินทุนก้อนหนึ่งที่จะนำมาขยายกิจการแบบก้าวกระโดด โดยที่ไม่ต้องมีภาระดอกเบี้ยผูกพันในอนาคต
เช่น เดิม บริษัท ทรีทรี เป็นบริษัทเอกชน มีทุนจดทะเบียนเดิม 100 บาท มีราคาพาร์ 1 บาท และตัดสินใจเข้าทำ IPO ด้วยการนำหุ้น 30% ของบริษัทมาเสนอขายกับประชาชนทั่วไป ซึ่งการทำ IPO ครั้งนี้จะทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมยังคงมีส่วนในความเป็นเจ้าของบริษัทเพียง 70% แต่ก็ได้เงินก้อนจำนวน 30 บาทมาใช้เพื่อขยายกิจการต่อไปโดยที่ไม่ต้องมีภาระดอกเบี้ย ทั้งยังไม่ต้องใช้คืนสถาบันการเงินในอนาคตอีกด้วย
นอกจากเหตุผลเรื่องเงินทุนแล้ว บริษัทที่เข้าทำหุ้น IPO ก็ยังจะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์การดูแลของตลาดหลักทรัพย์ และต้องเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของบริษัท ทำให้บริษัทที่เข้าทำ IPO มีความได้เปรียบจากบริษัทเอกชนทั่วไปอีกหลายด้าน เช่น
การอยู่ภายใต้กฎระเบียบและการกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์ทำให้บริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดี มีความโปร่งใส จำเป็นต้องมีระบบการเงิน/การทำบัญชีและมีการบริหารแบบมืออาชีพ
การเป็นบริษัทมหาชนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ทำให้บริษัทมีความน่าเชื่อถือ ที่จะนำไปสู่ต้นทุนทางการเงิน (กู้เงิน) ที่ต่ำลง เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น
ด้วยความน่าเชื่อถือทั้งทางภาพลักษณ์และฐานะทางการเงินทำให้บริษัทมีโอกาสหาพันธมิตรทางธุรกิจ หรือแม้แต่การเข้าซื้อกิจการที่น่าสนใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
การทำ IPO ทำให้บริษัทได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จากการเว้นการคำนวณภาษีจากเงินปันผลที่บริษัทจะได้
เงื่อนไขการนำบริษัทเข้ามาทำหุ้น IPO
เนื่องจากการทำหุ้น IPO นั้นเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายและกระทบถึงนักลงทุนรายย่อยเป็นวงกว้าง ดังนั้นตลาดหลักทรัพย์จึงออกเงื่อนไขสำหรับพิจารณารับบริษัทเข้าทำ IPO เอาไว้ว่าต้องเป็นบริษัทเอกชนที่เข้าเกณฑ์เหล่านี้ก่อน
1) ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน
บริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนและทำหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ต้องมีทุนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท และต้องมีกำไร 2-3 ปีย้อนหลังมากกว่า 50 ล้านบาท มีกำไรปีล่าสุดไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท เมื่อหักลบกลบหนี้ย้อนหลังแล้วต้องมีกำไรสะสมย้อนหลังงวดล่าสุดไม่ติดลบ ซึ่งสำหรับหุ้นที่จะนำเข้าทำ IPO ในตลาด mai ก็จะมีกฎระเบียบผ่อนคลายเรื่องขนาดให้เข้าถึงบริษัทขนาดเล็กได้มากขึ้น
2) การเสนอขายหุ้นต่อประชาชน
เมื่อบริษัทเข้าทำ IPO แล้วจะต้องนำหุ้นออกมาเสนอขายกับประชาชนไม่น้อยกว่า 15% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัท แต่ถ้าหากเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีทุนจดทะเบียนสูงกว่า 500 ล้านบาทก็จะมีการอนุโลมให้ใช้เกณฑ์ 10%ของทุนจดทะเบียน หรือ ไม่ต่ำกว่า 75 ล้านบาทแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าแทน
3) การกระจายหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นรายย่อย
ภายหลังการทำ IPO จะต้องมีการกระจายหุ้นให้กับนักลงทุนรายย่อยไม่น้อยกว่า 25% ของทุนจดทะเบียน และต้องเป็นจำนวนที่มากกว่า 1,000 รายขึ้นไป (อนุโลม 300 รายขึ้นไปสำหรับหุ้นที่เข้าทำหุ้น IPO ในตลาด mai)
4) ต้องมีการบริหารจัดการโปร่งใสมีมาตรฐาน
มีการรายงานงบการเงินและต้องถูกตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบบัญชีที่เป็นมืออาชีพสม่ำเสมอ
จองหุ้น IPO ได้อย่างไรบ้าง?
การจองซื้อหุ้น IPO ค่อนข้างมีขั้นตอนแตกต่างจากการซื้อหุ้นทั่วไป นั่นคือนักลงทุนจำเป็นต้องตรวจสอบเสียก่อนว่าตัวเองมีสิทธิในการจองซื้อหุ้นหรือไม่ ซึ่งการได้สิทธิในหุ้น IPO สำหรับนักลงทุนทั่วไปก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักเพราะมักมีการแจกจ่ายกันอยู่ในวงจำกัด แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เอาเสียเลย
ดังนั้นก่อนอื่นเราลองมาดูกันก่อนเลยว่านักลงทุนรายย่อยจะได้สิทธิรับจัดสรรหุ้น IPO ได้ในรูปแบบใดบ้าง
- เป็นผู้ถือหุ้นเดิม หรือ เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทแม่ของหุ้นที่ทำ IPO
หากอยู่ในเงื่อนไขข้างต้นนี้นักลงทุนจะได้รับการจัดสรรหุ้นให้ในฐานะผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งสัดส่วนการได้รับจัดสรร IPO ก็จะขึ้นอยู่กับสัดส่วนความเป็นเจ้าของเดิมที่มีอยู่ และจะได้รับการจัดสรรหุ้น IPO เป็นจำนวนที่แน่นอนแบบอัตโนมัติ
- เป็นพนักงานในบริษัทที่เข้าทำหุ้น IPO
ส่วนนี้ก็จะได้รับการจัดสรรหุ้น IPO ด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทและที่ปรึกษาทางการเงินว่าจะมีการจัดสรรในสัดส่วนเท่าไหร่ อย่างไรก็ดีนโยบายแจกจ่าย IPO ให้กับพนักงานก็เพื่อให้พนักงานได้มีส่วนในความเป็นเจ้าของบริษัทด้วย และจะได้การจัดสรรหุ้นเป็นจำนวนที่แน่นอนแบบอัตโนมัติเช่นกัน
- ได้รับการจัดสรรจากโบรกเกอร์ที่เป็นอันเดอร์ไรท์เตอร์
ในการทำ IPO หุ้นจะมีบริษัทการเงินที่เป็นที่ปรึกษาและอันเดอร์ไรท์เตอรที่เข้ามาดูแลปรับปรุงกิจการให้เข้ากับเงื่อนไขของตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทเหล่านี้ก็จะได้รับโควต้าหุ้น IPO เพื่อนำไปกระจายต่อให้กับนักลงทุนรายย่อยต่อ ซึ่งมักจะเป็นสิทธิของเจ้าหน้าที่บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวว่าจะนำไปกระจายต่ออย่างไร หรือให้สิทธิกับใครบ้าง ซึ่ง IPO ส่วนนี้มักจะไม่ถึงมือประชาชนทั่วไป
เมื่อตรวจสอบสิทธิในการจองซื้อหุ้น IPO ได้เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องเข้ากระบวนการจองซื้อด้วยการเขียนใบจองซื้อ และจ่ายเงินค่าหุ้นเป็นจำนวนหุ้นที่ได้รับการจัดสรร x ราคาจองหุ้น หลังจากนั้นก็รอหุ้นโอนเข้าพอร์ตและหลังจากนั้นไม่นานก็จะเริ่มการซื้อขายหุ้นวันแรกในตลาดหลักทรัพย์
จากที่กล่าวมาจะพบว่าการได้รับจัดสรรหุ้น IPO นั้นมักมาไม่ถึงประชาชนทั่วไป แต่ก็มีบ้างสำหรับบางบริษัทที่ต้องการกระจายความเป็นเจ้าของให้นักลงทุนรายย่อยที่เปิดให้ใครก็ได้เขามาจองซื้อหุ้น IPO ซึ่งส่วนใหญ่กระบวนการจองหุ้น IPO รูปแบบนี้จะค่อนข้างมีขั้นตอนมากกว่าสามส่วนแรก และมักจะได้รับการจัดสรรกันคนละเล็กละน้อยเท่านั้น
แต่การได้รับจัดสรรหุ้น IPO ก็มักเป็นที่ใฝ่ฝันของนักลงทุน เพราะเรามักจะติดภาพการเปิดตัวอย่างหวือหวาของราคาหุ้นที่เข้าเทรดในวันแรก ทั้งนี้การทำหุ้น IPO ก็ไม่ได้เป็นการการันตีผลกำไรของนักลงทุนที่จองซื้อหุ้นไว้ เนื่องจากหลายครั้งราคาหุ้นบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือสูงยังเข้าเทรดวันแรกด้วยราคาต่ำจองได้ในระดับหลายสิบเปอร์เซ็นต์จนทำให้ผู้จองซื้อต่างขาดทุนทางบัญชีในช่วงสั้นได้เหมือนกัน
ทางเลือกในการลงทุนที่ดีกว่า-เทรดหุ้น CFD
การจองซื้อหุ้น IPO ก็ไม่ต่างจากการเลือกซื้อหุ้นตัวหนึ่ง ๆ ที่เราต้องพิจารณาความคุ้มค่า และดูว่าราคาเสนอขายนั้นแพงเกินไปหรือไม่ ทั้งนี้แม้ว่าราคาหุ้น IPO นั้นจะดูว่ามีราคาถูกแล้ว หากเราไม่ได้มีสิทธิในการจองซื้อก็ดูเป็นเรื่องยากที่จะได้หุ้นเหล่านั้นมาไว้ในครอบครอง ดังนั้นวิธีการที่ง่ายและแน่นอนกว่าก็คงหนีไม่พ้นการเข้าซื้อในตลาดนั่นเอง
ทั้งนี้การเข้าซื้อหุ้นในตลาดก็มีหลากหลายเครื่องมือให้เราได้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหุ้นโดยตรง การใช้เครื่องมือที่สร้างความได้เปรียบในการเทรดอย่างตราสารอนุพันธ์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของนักลงทุนแต่ละคน
– หากต้องการซื้อหุ้นเพื่อถือยาว คุณก็ไม่ควรหวั่นไหวกับราคาหุ้น ไม่ว่าราคาจองและราคา ipo จะแตกต่างกันแค่ไหน หากคุณมองว่าระดับราคาที่เป็นอยู่ยังถือว่าถูกและซื้อเก็บได้ ก็เพียงแค่ซื้อหุ้นเก็บเข้าพอร์ตแล้วเก็บลืมเท่านั้น
– หากคุณต้องการเก็งกำไรบนราคาที่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าจะไม่ได้รับการจัดสรรหุ้น IPO คุณก็สามารถใช้เครื่องมืออย่างตราสารอนุพันธ์เข้าสนับสนุนกลยุทธ์การเทรดที่เตรียมไว้ได้
CFD เป็นตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงราคากับสินค้าอื่น เช่น หุ้น แต่ด้วยเงื่อนไขที่ให้นักลงทุนวางเงินแค่เพียงบางส่วนแล้วใช้ความได้เปรียบจากเลเวอร์เรจเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้ไม่แพ้การลงทุนในหุ้นแบบวางเงินเต็มจำนวน ทั้งยังสามารถทำกำได้บนราคาหุ้นทั้งในขาขึ้นและขาลงแม้จะไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้น ไม่มีค่าคอมมิชชั่น สเปรดต่ำ สภาพคล่องสูง และสามารถซื้อขายได้ทุกที่เพียงแค่มีแอปพลิเคชั่นในมือเท่านั้น
เช่น การซื้อขายหุ้น Facebook กับ MiTrade ด้วยเงื่อนไข
ที่ราคา $269 หากคุณมองว่า FB กำลังจะปรับตัวขึ้นก็แค่เปิดสถานะ Long ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำ $53.8 และเมื่อราคาปรับขึ้นก็ปิดสถานะเพื่อรับรู้กำไร เช่น หากปิดได้ที่ $295 ก็จะได้กำไร $52 หรือเกือบ ๆ 100% จากการเปลี่ยนแปลงของราคา 9.6% นั่นเอง
ในทางกลับกันหากมองว่าราคา FB กำลังจะปรับตัวลงก็เปิดสถานะ Short ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำ $53.8 และเมื่อราคาปรับลงก็ปิดสถานะเพื่อรับรู้ผลกำไรได้ในลักษณะเดียวกัน

จากที่กล่าวมาทั้งหมดคงพอตอบคำถามได้บ้างแล้วว่าหุ้น IPO คืออะไร เรามีวิธีจองหุ้น IPO ยังไงบ้าง แต่ทั้งนี้การจองหุ้น IPO ก็เป็นแค่ส่วนเล็ก ๆ ของโลกการลงทุนที่นาน ๆ ครั้งจะมีสักที และในแต่ละทีที่ว่าก็มีส่วนมาถึงนักลงทุนรายย่อยน้อยมาก การลองศึกษาเครื่องมือตัวอื่นเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไรจากตลาดจึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นักลงทุนน่าจับตามองไม่แพ้กัน
*** ลงทุนมีความเสี่ยง CFD อาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน